การทำงาน ของ สุรางค์_เปรมปรีดิ์

โรงเรียนเรวดี/นิตยสารสตรีสาร/ช่อง 7 สี

สุรางค์เริ่มงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยเป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียนเรวดีของมารดา (จนกระทั่งโรงเรียนปิดทำการสอน เมื่อปีการศึกษา 2553)[2] และถัดมาในปี พ.ศ. 2511 เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนอีกตำแหน่งหนึ่ง (จนถึงราวปี พ.ศ. 2523) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2513 เข้ารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการนิตยสารสตรีสาร (ปิดตัวลงเมื่อ ปี พ.ศ. 2539) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2524 เธอเข้าทำงานในช่อง 7 สี เริ่มเป็นผู้บริหารใหญ่ช่อง 7 ควบตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายรายการ เปรียบได้กับเป็นกรรมการผู้จัดการช่อง 7 เนื่องจากมีสิทธิ์ขาดอำนาจในตัดสินใจเพียงผู้เดียว (จนถึง พ.ศ. 2542)[ต้องการอ้างอิง] จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 ขึ้นเป็นกรรมการรองผู้จัดการบริษัทฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง และเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ แทนชาติเชื้อผู้เป็นพี่ชาย ที่ล้มป่วยลงด้วยอาการอัมพาต นอกจากนี้ ยังรักษาการในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายข่าวของสถานีฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541-ปี พ.ศ. 2545)แต่เกิดเหตุการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานครั้งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากการขึ้นมาอยู่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ เพียงในนามเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิ์ขาดอำนาจตัดสินเพียงผู้เดียวการพิจารณาและอนุมัติผ่านทางบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 7 ร่วมตัดสิน และ เป็นไปทางนโยบายของทางบอร์ดช่อง 7 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จึงถือเป็นช่วงยุคนาย กฤตย์ รัตนรักษ์ เริ่มเข้ามามีบทบาทภายในช่อง 7 เป็นต้นมาจัดระบบการบริหารในรูปแบบบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาร่วมบริหารและตัดสินใจผ่านบอร์ดคณะกรรมการช่อง 7 อนุมัติ โดยมีผู้บริหารใหญ่จากฝั่ง นาย กฤตย์ รัตนรักษ์ ตัดสินใจการบริหารงานช่อง 7 ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา อยู่ในรูปแบบบอร์ดคณะกรรมการพิจารณาร่วมบริหารและตัดสินใจ ไม่ใช่เพียงแค่คุณแดง เท่านั้น ทำให้หลายๆคนเข้าใจผิด ไม่ทราบเกี่ยวกับการบริหารภายในช่อง รวมถึงสื่อต่างๆที่ลงข่าวเกิดความเข้าใจผิดและ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งคือเมื่อปี พ.ศ. 2549 มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารใหญ่ภายในช่อง 7โดยเป็นเหตุให้คุณแดงถูกตัดสิทธิ์ออกจากบริหารงานด้านละครโทรทัศน์ช่อง 7 เป็นแค่การอยู่ในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ และ การออกหน้าสื่อเท่านั้น แต่บทบาทภายในไม่ได้เป็นการบริหารของคุณแดง
ในช่วงการบริหารของคุณ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ นับเป็นความประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 ภายใต้การบริหารและวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย และ ความสำเร็จด้านผู้นำละครโทรทัศน์ นโยบายการผลิตละครโทรทัศน์ยึดการเคารพบทประพันธ์เป็นหลักทุกเรื่อง ไม่บิดเบือนแก่นบทประพันธ์
ในช่วง พ.ศ. 2529 - 2542 นับเป็นสมัยคุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์
หลับจากได้ถอยห่างโดยมีการตั้งบอร์ดคณะกรรมการบริหารช่อง 7 ขึ้นมาแทนที่ เสมือนเป็นการลิดรอนอำนาจการบริหารจากตระกูล “กรรณสูต” มาสู่ “รัตนรักษ์” ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ผ่านผู้บริหารของกลุ่มกรุงศรี ด้วยขณะนั้น บทบาทคุณแดงเป็นเพียงผู้ร่วมบริหาร และ ดำรงอยู่ตำแหน่งใน กก.ผจก. เท่านั้น จนถึง พ.ศ. 2548 ตามที่มีกระแสข่าวลือว่า คุณแดงวางมือเด็ดขาด เพราะอันเนื่องมาจาก ปี 2548 กฤตย์ รัตนรักษ์ เข้ามากุมบังเหียนทุกฝ่ายในช่อง 7 บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554 กฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานกรรมการบริหารช่อง 7 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ ศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ขึ้นรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งสุรางค์ดำรงอยู่ โดยให้มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 สุรางค์จึงพ้นจากทุกตำแหน่งของสถานีฯ นับแต่นั้น แต่ในทางเป็นจริง คุณ สุรางค์ ได้พ้นจากอำนาจการบริหารภายในช่อง ไปก่อนหน้านั้นนานมาแล้ว เพียงแค่มีชื่ออยู่ในตำแหน่งเท่านั้น และ มีเหตุที่มา คุณ สุรางค์ มีเจตนาที่ไม่ต้องการจะต่อสัญญามาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2549 แต่บอร์ดบริหารช่อง วิงวอนให้ต่อสัญญาไปก่อนช่วงนั้น [3]

คุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ตามข้อมูลถือได้ว่าเป็นพันธมิตรธุรกิจหลากหลายบริษัทเช่น เป็นพันธมิตรธุรกิจกับ กลุ่มบริษัท บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด, บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดปัจจุบัน สิงห์ คอร์เปอเรชั่น , นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) และ เป็นผู้สนับสนุนหลัก รายการเสน่ห์กีฬา และ รายการสปอร์ตกูรู (ซึ่งร่วมกับบริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ผู้ผลิตรายการ) และ Miss Universe Thailand ทางช่อง 3 และ เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มงานที่คุณสุรางค์มีส่วนร่วม ฯลฯ, กลุ่มบริษัท “เคพีเอ็น” (KPN)และ เป็นหุ้นส่วนใหญ่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Grand Marnez Khaoyai โครงการบ้านพักตากอากาศสไตล์ฝรั่งเศส สุดหรูหรา บนเขาใหญ่และ เป็นพันธมิตรธุรกิจกลุ่ม บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (สามี ดร.ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ ประธานกรรมการบริษัท กันตนา แอนิเมชั่น จำกัด)
และเนื่องจากมีสายสัมพันธ์กับผู้จัด ฉลอง ภักดีวิจิตร ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการชักนำทายาทอาหลอง เข้ามาเป็นผู้ผลิตละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 โดยผ่านทาง คุณแดง เป็นผู้พิจารณาเรื่องจัดวางนักแสดงและนำเสนอช่อง

การประกวดนางงาม

สุรางค์แถลงข่าวการจัดประกวดนางงาม ภายใต้ชื่อ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ (Miss Universe Thailand) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นผู้ถ่ายทอดการประกวดรอบสุดท้าย, เอ็กแซ็กต์และซีเนริโอ เป็นฝ่ายออกแบบและจัดสร้างเวทีประกวด, บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์การประกวด และจังหวัดพิษณุโลก เป็นสถานที่เก็บตัวของผู้เข้าประกวด ซึ่งผู้ชนะการประกวดเวทีนี้ จะได้สิทธิเป็นผู้แทนประเทศไทย ไปเข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาล (Miss Universe) ตามที่สุรางค์เป็นผู้รับสิทธิดังกล่าวอย่างถูกต้อง จากองค์การนางงามจักรวาล (Miss Universe Organization)[4]

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีการมอบสิทธิในการส่งผู้แทนประเทศไทย เข้าประกวดนางงามจักรวาลเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ให้แก่ชาติเชื้อ กรรณสูต โดยชาติเชื้อ ในนามช่อง 7 สี ร่วมกับสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย จัดประกวดภายใต้ชื่อนางสาวไทย จนกระทั่งชาติเชื้อเสียชีวิต องค์การนางงามจักรวาล จึงสนับสนุนให้สุรางค์เป็นผู้รับสิทธินี้ต่อไป โดยมีช่อง 7 เป็นผู้ดำเนินงานจัดการประกวดเรื่อยมา มี พลากร สมสุวรรณ เป็นผู้จัดการการประกวด รับผิดชอบการจัดการประกวด และเมื่อปี พ.ศ. 2543 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย นำการประกวดนางสาวไทย ไปจัดร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (หลังจากไอทีวีปิดตัวเมื่อ พ.ศ. 2550 ก็ย้ายไปจัดร่วมกับโมเดิร์นไนน์ทีวี บมจ.อสมท) ช่อง 7 สีจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส มาจนถึงปี พ.ศ. 2554[5]

บริษัท จันทร์ 25 จำกัด

บริษัท จันทร์ 25 จำกัด จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2536 ด้วยทุนประเดิม 100,000 บาท มีกรรมการ 3 ราย และผู้ถือหุ้น 7 ราย (หลังจากนั้นปรับลดลง เหลือเพียง 3 ราย) ต่อมาวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 บริษัทฯ แจ้งเปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งสามรายขึ้นใหม่ โดยสองในสามราย คือสุรางค์และไพโรจน์ผู้เป็นสามี โดยที่สุรางค์เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทนบุคคลเดิม จากนั้นในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัทฯ แจ้งเปลี่ยนรายชื่อกรรมการเสียใหม่ โดยมีชื่อของสุรางค์ เข้ามาเพียงคนเดียว[6]

พร้อมทั้งเปลี่ยนที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ เป็นเลขที่ 108 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของโรงเรียนเรวดี และก่อนหน้านั้นก็แจ้งเป็นที่ตั้งของ บริษัท สปอร์ตทิปส์ จำกัด ของพิศณุ นิลกลัด ซึ่งสนิทสนมกับสุรางค์มานาน เนื่องจากเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ตั้งแต่สมัยที่ยังบริหารช่อง 7 สีอีกด้วย และยังแจ้งวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพิ่มเติม เกี่ยวกับการประกอบกิจการจัดสร้าง และจัดจำหน่ายละคร และการแสดงอื่น รวมถึงการจัดงานประกวดต่างๆ[6] เพื่อรองรับการจัดประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์

และวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556 บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10,000,000 บาท พร้อมทั้งเพิ่มชื่อกรรมการอีกสองคน คือไพโรจน์ สามีของสุรางค์ และพิศณุ นิลกลัด และยังเพิ่มวัตถุประสงค์ การดำเนินธุรกิจบันเทิง ผ่านอินเทอร์เน็ตและสื่อสมัยใหม่ ดำเนินกิจการรับ-ส่งวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งผ่านสายเคเบิล[6] [7]

ใกล้เคียง

สุรางค์ เปรมปรีดิ์ สุรางค์ ดุริยพันธุ์ สุรางคณา สุนทรพณาเวศ สุรางค์ ผิวอ่อน สุรางคนางค์ สุรา สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ สุรพงษ์ ปิยะโชติ

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุรางค์_เปรมปรีดิ์ http://203.155.18.80 http://203.155.18.80/thai/committee/committee_th.h... http://www.pbcthailand.com/group_01/24.pdf http://www.positioningmag.com http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.asp... http://www.komchadluek.net/detail/20090910/27888.h... http://www.isranews.org/investigative/investigate-... http://www.isranews.org/isranews-news/item/24734-1... http://www.dailynews.co.th/world/153782 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...