การเมือง ของ สุรินทร์_มาศดิตถ์

ในช่วงเวลาเดียวกันได้จัดทำหนังสือพิมพ์ชื่อ "เสียงราษฎร์" โดยเป็นทั้งเจ้าของและบรรณาธิการ นับเป็นหนังสือพิมพ์เพียงฉบับเดียวของจังหวัดนครศรีธรรมราช และมียอดพิมพ์สูงสุดในภาคใต้จึงทำให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปและมีชื่อเสียงกว้างขวาง ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงสมัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วประเทศ นายสุรินทร์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (ในยุคนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรค) ในครั้งนั้นนายสุรินทร์ช่วยหาเสียงให้นายไสว สวัสดิสาร ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคลงรับสมัครเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายไสว สวัสดิสาร ได้รับการเลือกตั้ง (คู่กับนายน้อม อุปรมัย และนายฉ่ำ จำรัสเนตร) ทำให้นายสุรินทร์พลอยเป็นที่รู้จักของประชาชนไปด้วย การเลือกตั้งในสมัยต่อมาคือ ปี พ.ศ. 2509 นายสุรินทร์จึงลงสมัครรับเลือกตั้งเองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปรากฏว่าได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก พ.ศ. 2512 ได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1] และในปีเดียวกันนี้ คือปลายปี พ.ศ. 2518 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่งนายสุรินทร์ได้รับเลือกในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นสมัยที่ 3 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 35[2] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[3] จากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนี้อีกครั้ง ในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 37[4] และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38[5]

ใกล้เคียง

สุรินทร์ พิศสุวรรณ สุรินทร์ มาศดิตถ์ สุรินทร์ ภาคศิริ สุรินทร์ ปาลาเร่ สุรินทร์ เทพกาญจนา สุรินทร์ เศรษฐมานิต สุรินทร คารวุตม์ สุรินทร์ เริงอารมณ์ สุรินทร์ ประสมผล สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์