ชนิดของสุริยุปราคา ของ สุริยุปราคา

ดวงจันทร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ สังเกตจากยาน STEREO-B เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่ระยะ 4.4 เท่าของระยะระหว่างโลกกับดวงจันทร์[2]

สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่

  • สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse): ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
  • สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse) : มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
  • สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse) : ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
  • สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse) : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า

สุริยุปราคาจัดเป็นอุปราคาประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ

การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เกือบจะเท่ากันถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์มีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 390 เท่า และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ก็ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่า ตัวเลขทั้งสองนี้ซึ่งไม่ต่างกันมาก ทำให้ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อมองจากโลก คือปรากฏด้วยขนาดเชิงมุมราว 0.5 องศา

วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรีเช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่[3][4] อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราสเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) อาจทำให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโฟโตสเฟียร์ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด (apogee) คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 สุริยนันทนา สุจริตกุล สุริยา ชินพันธุ์ สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยะใส กตะศิลา สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา http://www.bareket-astro.com/eclipse/Camera2.html http://csep10.phys.utk.edu/astr161/lect/time/eclip... http://xjubier.free.fr/en/site_pages/solar_eclipse... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1901... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle1951... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap....