สุริยุปราคา_16_กรกฎาคม_พ.ศ._2729
สุริยุปราคา_16_กรกฎาคม_พ.ศ._2729

สุริยุปราคา_16_กรกฎาคม_พ.ศ._2729

สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2729 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตรสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาที่มีระยะเวลาคราสเต็มดวงยาวนานที่สุดในรอบหลายพันปี แนวคราสนั้นจะพาดผ่านตอนใต้ของหมู่เกาะกาลาปาโกส (โดยมีสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 4 นาทีเกิดขึ้นที่ส่วนใต้สุดของเกาะเอสปาโญลา) ปลายเหนือสุดของประเทศเอกวาดอร์ (โดยมีสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 3 นาที 26 วินาทีเกิดขึ้นบนเกาะซันตาโรซา) ตอนกลางของประเทศโคลัมเบีย (สุริยุปราคาเต็มดวงนาน 4 นาที 50 วินาทีเกิดขึ้นที่กรุงโบโกตา) ตอนกลางของประเทศเวเนซุเอลา และตอนเหนือของประเทศกายอานา (สุริยุปราคาเต็มดวงนาน 7 นาที 4 วินาทีเกิดขึ้นที่ตอนเหนือสุดของเมืองอันนารีกีนา)[1]

สุริยุปราคา_16_กรกฎาคม_พ.ศ._2729

แซรอส 139 (39 จาก 71)
ประเภท เต็มดวง
แกมมา -0.2396
ความส่องสว่าง 1.0805
บดบังมากที่สุด 15:14:54
ความกว้างของเงามืด 267 กิโลเมตร
บัญชี # (SE5000) 9933
ระยะเวลา 449 วินาที (7 นาที 29 วินาที)
พิกัด 7°24′N 46°30′W / 7.4°N 46.5°W / 7.4; -46.5

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา_16_กรกฎาคม_พ.ศ._2729 http://adsabs.harvard.edu/full/2003JBAA..113..343M http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE2101-2200.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcatmax/SEcatmax.htm... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros139.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEdata.php?E... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsearch/SEsearchmap.... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... https://www.fourmilab.ch/earthview/pacalc.html https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2003JBAA..113..3...