คำวิจารณ์ ของ สโนว์ไวต์


พี่น้องตระกูลกริมม์

ในบทประพันธ์ของพี่น้องตระกูลกริมม์ ในการตีพิมพ์ครั้งที่ 1 นั้น เรื่องของสโนว์ไวต์ เป็นเรื่องความอิจฉาของแม่ ที่มีต่อลูกสาวของตนเอง และมีรายละเอียดปลีกย่อยบางประการที่แตกต่างจากการตีพิมพ์ในครั้งต่อ ๆ มา ซึ่งมีการเปลี่ยนบทจากแม่แท้ ๆ เป็นแม่เลี้ยงแทน ทั้งนี้คาดว่าน่าจะปรับแต่งเรื่องเพื่อให้เนื้อหาอ่อนลง เพื่อให้เป็นนิทานสำหรับเด็ก

นอกจากนี้ ยังมีการวิจารณ์ว่า การเขียนบทให้สโนว์ไวต์หลับ และตื่นขี้นมาอีกครั้ง เป็นการเปรียบเทียบกับคำสอนของคริสต์ศาสนา เรื่องการฟื้นคืนชีพในยุคสุดท้ายอีกด้วย[1]

สโนว์ไวต์

ในบทประพันธ์ของพี่น้องตระกูลกริมม์ มีตัวเอกชื่อ สโนว์ไวต์ ด้วยกัน 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องสโนว์ไวต์ และเรื่องสโนว์ไวต์กับดอกกุหลาบแดง แต่ทั้งนี้ตัวเอก ได้แก่ สโนว์ไวต์ในทั้งสองเรื่องนี้ มีบุคคลิก และลักษณะต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ชื่อเรียกดั้งเดิมในภาษาเยอรมันเอง ก็มีความแตกต่างกัน โดยสโนว์ไวต์(กับคนแคระทั้งเจ็ด) มีชื่อภาษาเยอรมันว่า Schneewittchen เป็นภาษาเยอรมันสำเนียง โลเวอร์ซัคเซน ในขณะที่สโนว์ไวต์กับดอกกุหลาบแดงนั้น มีชื่อภาษาเยอรมันว่า Schneeweißchen ซึ่งเป็นสำเนียงทางการ แต่ทั้งสองคำต่างมีความหมายเดียวกัน

ฉบับรัสเซีย

ในรัสเซียเอง ก็มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยมีชื่อว่า เรื่องเล่าของเจ้าหญิงกับอัศวินทั้งเจ็ด (The Tale of the Dead Princess and the Seven Knights) ซึ่งรวบรวมโดย อเล็กซานเดอร์ พุสกิน ในปี ค.ศ. 1833 ก็มีเนื้อหาเรื่องราวใกล้เคียงกับเรื่องสโนว์ไวต์ เพียงแต่เปลี่ยนตัวละครจากคนแคระมาเป็นอัศวินแทน[2][3]