ประวัติสโมสร ของ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ

ยุคก่อนระบบฟุตบอลลีก

สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีนายกสโมสรคนแรก คือ พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ง. โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 - 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญ เข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน[1]

ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 3 สมัย และ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน)[1] ขณะเดียวกัน ในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสร ก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัย อีกด้วย

ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน ก. เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดย สโมสร ต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น (การแข่งขัน ไทยแลนด์เซมิโปรลีก)

ยุคระบบฟุตบอลลีก

ต่อมาในปี 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ขึ้น โดยเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรแรกที่ร่วมทำการแข่งขัน และทำผลงานโดยจบอันดับที่ 11 จาก 18 สโมสร

ต่อมาในปี 2552 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างของลีกให้เป็นมืออาชีพ สโมสร ก็ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย โดยได้มีการจดทะเบียนในนาม บจก.สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย โดยมี พิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร[2] และในปีนั้น สโมสรสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ ได้โดยเอาชนะจุดโทษ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน 5-4 ซึ่งเป็นการได้ตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดยความสำเร็จครั้งสุดท้ายคือ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ เมื่อปี 2536

ต่อมาในปี 2555 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้มีการเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ พร้อมกับเปลี่ยนทีมผู้ฝึกสอนและผู้บริหารทั้งหมด และได้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นประธานกิตติมศักดิ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ทรง วงศ์วานิช เป็นประธานสโมสร[3] โดยในปีนั้น สโมสร ซึ่งทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2556 ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันไทยลีกอีกครั้ง

ต่อมาในปี 2557 ทางคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีมติ นำสิทธิ์การบริหารคืน หลังจากที่ผู้บริหารชุดเดิม ได้คืนสิทธิ์ให้[4] โดยได้จัดตั้ง บจก.การท่าเรือ เอฟซี เข้ามาบริหารแทน เพื่อแข่งขันใน ไทยลีก 2558 โดยมี พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[4] ต่อมาช่วงก่อนเปิดเลกสอง นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำสัญญาและเข้ามาบริหารสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย รวมไปถึงเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และฉายาใหม่เป็น อาชาท่าเรือ[5] แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ แต่ผลงานของสโมสรกลับไม่ดี โดยตกชั้นในอันดับที่ 17 ของตาราง[6]

ในฤดูกาล 2559 ที่สโมสรลงไปทำการแข่งขันในดิวิชั่น 1 สโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกอีกครั้ง โดยจบด้วยอันดับที่ 3 โดยในปีนั้นมีการเปลื่ยนแปลงตราสโมสร โดยกลับมาใช้รูปสิงห์อีกครั้ง รวมไปถึงการกลับมาใช้ฉายา สิงห์เจ้าท่า อีกครั้ง

  • ประวัติสัญลักษณ์ของสโมสร
  • 2510 – ????
  • ???? – 2551
  • 2552 – 2555
  • 2556 – 2557
  • 2558
  • 2559

ใกล้เคียง

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลเชลซี สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ http://www.portmtifc.com/ http://www.rsssf.com/tablest/thaichamp.html http://www.wisewinner.com/index.aspx?ContentID=Con... http://manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=95... http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsI... https://www.facebook.com/564147727055833/photos/a.... https://www.facebook.com/portfcteam https://web.archive.org/web/20140716083045/http://... https://www.thairath.co.th/content/329539