ประวัติสโมสร ของ สโมสรฟุตบอลทีโอที

สโมสรฟุตบอลทีโอที เอสซี ในอดีตมีซื่อตามองค์กรที่ส่งเข้าแข่งขันว่า สโมสรฟุตบอลองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยก่อตั้งโดยคณะกรรมการกีฬา ทศท. ในปี พ.ศ. 2524 และในปีต่อมา (พ.ศ. 2525) สโมสรได้สมัครสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ โดยส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง. เป็นรายการแรก[3] โดยใช้บุคลากรใน บริษัทฯ เป็นนักฟุตบอลหลายคน ทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อสาธารณชนทั่วไป

ยุคฟุตบอลอาชีพ

จวบจนปี พ.ศ. 2539 สโมสรองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งทำการลงแข่งขันในถ้วย ก (เดิม) จึงมีสิทธิ์ร่วมเข้าแข่งขันฟุตบอลจอห์นนีวอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก 2539 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในทีมที่ร่วมก่อตั้งลีกอย่างเป็นทางการ โดยผลงานในฤดูกาลแรก พวกเขาคว้าตำแหน่งรองแชมป์ในฤดูกาลปกติ และกองกลางในทีมของทีมอย่าง อำพร อำพันสุพรรณ ก็ได้เป็นดาวซัลโวสูงสุดคนแรกในการแข่งขัน หลังจากนั้น ผลงานของทีมส่วนมากจะอยู่ในระดับกลางตาราง จนถึงฤดูกาล 2002-03 สโมสรฯต้องตกชั้นสู่ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก (โดยในฤดูกาลนั้น พวกเขาจบด้วยอันดับ 9 จาก 10 ทีม) แต่ก็ใช้เวลาแค่เพียง 1 ปีในการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุด และตกชั้นอีกครั้งซีซั่นต่อมา ซึ่งต่อมา ทางสมาคมฯ ได้เชิญ ทีโอที เอฟซี เข้าร่วมการแข่งขันโปรลีก ในปี พ.ศ. 2549 และได้ตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันจึงได้สิทธิ์เลื่อนชั้นกลับมาสู่ไทยลีก 2007 อีกครั้ง[4]

ยุคทีโอที-แคท

จนในฤดูกาล 2553 ทางสโมสรทีโอที เอฟซี เสียบุคลาการหลักๆในสโมสรหลายคน ทั้ง พงษ์พันธ์ วงษ์สุวรรณ สุเชาว์ นุชนุ่ม กีรติ เขียวสมบัติ ไพรัช ทับเกตุแก้ว โคเน่ เซย์ดู และ รัตนะ เพชรอาภรณ์ ให้กับทาง สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ[5] ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้มีการให้กลุ่มทุนนอกเข้ามาบริหารทีม (ไพโรจน์ สุวรรณฉวี, พลพีร์ สุวรรณฉวี และ พิมล ศรีวิกรม์) โดยเปลี่ยนชื่อและฉายาของใหม่เป็น สโมสรทีโอที แคท เอฟซี โดยกลุ่มทุนดังกล่าวได้สิทธิ์ในการทำทีมไป ด้วยงบประมาณการทำทีม 40 ล้านบาท ได้มีการดึงแข้งต่างชาติทั้ง สโลวาเกีย และ จอร์แดน เข้ามาสร้างสีสรรให้กับวงการฟุตบอลไทย แต่ใน ฤดูกาลถัดมา ทางบมจ.ทีโอทีต้องการที่จะดึงทีมกลับไปบริหารเอง[6] และได้เปลื่ยนแปลงผู้บริหารและทีมสต๊าฟโค้ช โดยกลับมาใช้คนในสโมสรอย่าง สมชาย ทรัพย์เพิ่ม มาบริหารจัดการทีม แทนที่ของ ณรงค์ สุวรรณโชติ และได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ภายใต้ชื่อบริษัท ทีโอที สปอร์ต คลับ จำกัด ตั้งแต่ 2554 เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทาง เอเอฟซี

ปัญหาของสโมสร

นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน ทางบมจ.ทีโอที ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการแข่งขันมาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 ที่ทางสมาคมฟุตบอลฯ ได้ออกข้อบังคับให้สโมสรฟุตบอลที่อยู่ในลีก ต้องเป็นสโมสรมืออาชีพ แต่เป็นทื่น่าสังเกต เพราะทางสโมสรไม่ได้มี ผู้สนับสนุนหลัก เนื่องจากงบประมาณต่าง ๆ ได้มาจาก บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของทีม จนทำให้เกิดสภาวะทางการเงินในสโมสรในเวลาต่อมา โดยที่จริงแล้ว สโมสรทีโอที ประสบปัญหาทางด้านการเงินมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2547 แล้ว อันเนื่องมาจากทางองค์กรให้งบประมาณที่สามารถใช้แค่การประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่การบริหารทีมต่างๆ ยังอยู่ในรูปแบบระบบราชการ[7] เนื่องด้วยการที่ทาง บมจ.ทีโอที มาบริหารเองทำให้เกิดสภาวะทางการเงินจนมีข่าวลือการยุบสโมสร ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 อันสืบเนื่องมาจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทแม่ ประสบผลขาดทุนจนต้องเข้าแผนฟื้นฟู และมีนโยบายปรับลดค่าใช้จ่าย แต่ทางสโมสร ก็ได้ยืนยันว่ายังสามารถบริหารทีมต่อไปได้ และยังได้กลุ่มทุน CGF มาร่วมบริหารทีมในเวลาต่อมา [8]

ขาดสภาพคล่องทางการเงินและยุบสโมสร

อย่างไรก็ดี แม้จะได้กลุ่มทุน CGF มาบริหาร แต่ทว่า ทางสโมสรกลับยกเลิก การร่วมมือกับกลุ่มทุนใหม่นี้ เหตุผลเนื่องจากความไม่ชัดเจนในการจัดการ โดยที่ผู้จัดการทีมอย่าง สมชาย ทรัพย์เพิ่ม ได้ออกมาเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า ทางกลุ่มทุน ไม่มีความชัดเจนในการเข้ามาสนับสนุน และยังมีพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากทางกลุ่มทุน ได้ผลัดผ่อนการให้เงินสนับสนุนที่จะนำมาใช้รักษาสภาพคล่องของทีมในช่วงก่อนเปิดฤดูกาลหลายครั้ง[9]แต่ถึงอย่างไรก็ดี ผลงานของสโมสรในช่วงสามฤดูกาลหลัง กลายเป็นว่าทีมต้องลุ้นหนีการตกชั้น อย่างต่อเนื่อง และยังมีข่าวการที่สโมสรค้างเงินเดือน นักเตะ ถึง 13 ราย เป็นจำนวนเงินถึง 2 ล้านกว่าบาท[10]สุดท้ายผลงานของทีมใน ฤดูกาล 2558 สโมสรทำผลงานจบด้วยอันดับที่ 18 ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 1 ครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่ทว่าการที่สโมสรไม่ผ่านคลับไลเซ่นนิ่ง ทำให้ฝ่ายจัดการนแข่งขันตัดสิทธิ์ทีมออกจากจากแข่งขัน[11] และทางบอร์ดบริหารของ บมจ.ทีโอที มีมติให้ยุบสโมสร เนื่องจากไม่สามารถหาเงินเพื่อจ่ายเงินเดือนนักฟุตบอล และ ทางผู้สนับสนุนของทีมต่างถอนตัวออกไป ทำให้ไม่มีเงินที่จะมาอุดหนุนสโมสรในท้ายที่สุด ส่วนเรื่องเงินเดือนที่ค้างจ่าย ทางบอร์ดบริหารได้ให้นักเตะไปฟ้องร้องกับทางบริษัท ทีโอที เอสซี เอง[12]

ใกล้เคียง

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลเชลซี สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

แหล่งที่มา

WikiPedia: สโมสรฟุตบอลทีโอที http://www.cheerball.com/news/main/view/19255 http://www.goal.com/th/news/4280/%E0%B8%9F%E0%B8%B... http://sport.mthai.com/football-thai/254688.html http://pantip.com/topic/33540724 http://sport.sanook.com/209701/ http://www.tnamcot.com/content/417387 http://www.totsc.com/ http://web.archive.org/web/20030417125342/http://w... http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/101110_1... http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/101118_2...