ประวัติสโมสร ของ สโมสรฟุตบอลราชวิถี

ก่อนปี พ.ศ. 2511 สองพี่น้องตระกูลไชยยงค์ซึ่งเคยเป็นผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ มาก่อนและได้ลาออกในปี พ.ศ. 2508 ได้รวบรวมเด็กๆ และเยาวชน ที่มีความสนใจในเกมลูกหนัง นำมาฝึกสอนทักษะสูกหนัง บริเวณสนามอัฒจันทร์ ศาลต้นโพธิ์ สนามกีฬาแห่งชาติหรือสนามศุภชลาศัย จากจุดเริ่มต้นที่มีเยาวชนเพียงน้อยนิด 10 กว่าคน จนกระทั่งมีจำนวนกว่า 100 ชีวิตในเวลาไม่นาน เมื่อมีเยาวชนและผู้ปกครองนำเยาวชนมาเรียนรู้ศาสตร์ลูกหนังเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเตะที่ได้ฝึกสอนอยู่มีโอกาสได้ลงสนามแข่งขันอย่างเป็นทางการและเป็นการพัฒนาฝีมือในขั้นสูง

ในปี พ.ศ. 2511 สำเริง ไชยยงค์ จึงได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งสโมสรฟุตบอลต่อกรมตำรวจ ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) โดยใช้ชื่อทีมว่า "สโมสรฟุตบอลราชวิถี" และเป็นชื่อทีมที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทีมสโมสรฟุตบอลราชวิถี ถือเป็นสโมสรแรกๆ ของทีมฟุตบอลในเมืองไทยที่มีระบบการเล่นฟุตบอลแบบ "โททัลฟุตบอล" อันสวยงามและเร้าใจ ทีมราชวิถีประสบความสำเร็จกับการสร้างนักเตะระดับเยาวชนเป็นอย่างมาก โดยสามารถคว้าแชมป์ลูกหนังระดับเยาวชนชิงชนะเลิสแห่งประเทศไทย ถึง 6 ปีซ้อน สำหรับทีมในระดับชุดใหญ่ก็มีผลงานไม่น้อยหน้ากว่าทีมเยาวชน โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมณ์ สามารถความแชมป์ฟุตบอลฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (ถ้วย ค.) ได้ในปี พ.ศ. 2515 โดยในปี พ.ศ. 2514 ทีมราชวิถีสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยใหญ่หรือฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ซึ่งถือว่าเป็นถ้วยฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้เป็นครั้งแรก และทีมราชวิถี ยังสามารถกลับมาความแชมป์ถ้วย ก. ได้ อีก 3 ครั้งในปี ปี พ.ศ. 2516 (คว้าแชมป์ร่วมกับสโมสรฟุตบอลราชประชา) ปี พ.ศ. 2518 และ ปี พ.ศ 2520 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองในปีท้ายๆ ของทีมราชวิถีรวมแล้วทีมราชวิถี คว้าแชมป์ระดับสูงสุดของประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง

นอกจากนี้สโมสรฟุตบอลราชวิถียังเป็นสมาชิกภาคีควีนส์คัพ ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นเป็นรายการฟุตบอลที่มีถ้วยรางวัลใหญ่ที่สุดในโลก โดยถ้วยรางวัลนี้ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยทีมราชวิถี สามารถคว้ามแชมป์มาได้หนึ่งครั้งในปี พ.ศ. 2516

ในปี พ.ศ. 2538 ทีมราชวิถี เริ่มกลับเข้าสู่ความสำเร็จอีกครั้ง เมื่อสามารถชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (ถ้วย ข.) และได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.)ในปี พ.ศ. 2539 แต่เนื่องจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยใหม่ในปี พ.ศ. 2539 โดยจัดการแข่งขันในระบบลีกใช้ชื่อการแข่งขันว่า ไทยลีก โดยให้ทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ในปี พ.ศ. 2539 เข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก และจัดให้ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดก่อนเปิดฤดูกาลของฟุตบอลไทยลีกแทนคล้ายกับฟุตบอลคอมมูนิตี้ ชิลด์ ของประเทศอังกฤษ ปีแรกที่ทีมราชวิถีเข้าแข่งขันในระบบลีก เนื่องจากเป็นทีมน้องใหม่ของการแข่งขันระดับลีกทำให้ทนต่อแรงเสียดทานของทีมอื่นๆไม่ไหว เมื่อลงแข่งขันจึงแพ้มากกว่าชนะเมื่อจบฤดูกาล ทำอันดับได้ที่ 16 จาก 18 สโมสร ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในระดับ ไทยลีก ดิวิชั่น 1

ในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา สโมสรฟุตบอลราชวิถี อยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการบริหารทีมภายใต้การนำของประธานสโมสร พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ที่ต้องการเห็นสโมสรกลับไปโลดแล่นในระดับไทยลีกอีกครั้ง แต่เนื่องจาก ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ทีมเผชิญกับวิกฤตหลายๆด้าน จึงยังไม่สามารถส่งทีมไปถึงเป้าหมายได้ แต่ด้วยความรักในทีมสโมสรราชวิถี พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ก็ยังสู้ฝ่าฟันอุปสรรคเรื่อยมา และก็ยังสามารถนำทัพเข้าสู้ศึกในลีกต่างๆอย่างไม่ท้อถอย

ในปี พ.ศ. 2556 พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ประธานสโมสร ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นประธาน สโมสรฟุตบอลราชวิถี ด้วยเพราะมีภารกิจที่สำคัญมากมายรออยู่เบื้องหน้า โดยขอมอบให้หน้าที่นี้ นาย ภากร กสิโสภา อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี ร่วมกับผู้จัดการทีมฟุตบอลราชวิถี ดำเนินการนำทัพทีมสโมสรราชวิถี สู้ศึกในลีกต่อไป

ใกล้เคียง

สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลเชลซี สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล