โครงสร้าง ของ ส่วนโค้งเอออร์ตา

ในระดับเซลล์ เอออร์ตาและส่วนโค้งเอออร์ตาประกอบด้วยชั้นจำนวนสามขั้น ชั้นแรกคือ ชั้นของทูนิกา อินติมา ซึ่งล้อมรอบช่องภายในหลอด (lumen) ประกอบด้วยเซลล์บุผิวสความอลเดี่ยว ชั้นที่สองคือ ทูนิกา มีดีเอ ประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบและเส้นใยที่ยืดหยุ่น และชั้นที่สามคือ ทูนิกา เอ็กซ์เทอร์นา ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนที่จับตัวกันหลวม ๆ[1] สิ่งเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยส่วนปลายของปลายประสาทรับแรงดัน (Baroreceptor) ส่วนโค้งเอออร์ติกจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงด้านการพองออกของผนังหลอดเลือด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในอัตราหัวใจเต้น เพื่อทำให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงในความดันโลหิตด้วย[2]

เอออร์ตามีจุดกำเนิดที่ระดับขอบด้านบนของข้อต่อกระดูกอกร่วมซี่โครง (Sternocostal articulation) ด้านขวาชิ้นที่สอง และทอดตัวขึ้นไปทางชิ้นที่หนึ่งด้านบน แล้วย้อนกลับ และวิ่งตรงไปทางซ้ายที่ด้านหน้าของหลอดลม จากนั้นทอดตัวไปทางด้านหลังตามแนวด้านซ้ายของหลอดลม และทอดตัวลงไปทางด้านซ้ายของส่วนตัวของกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่สี่[3] ที่จุดนี้ ส่วนโค้งเอออร์ติกจะเปลี่ยนไปเป็นเอออร์ตาส่วนลง[3]:214[4]

ส่วนโค้งเอออร์ติกมีแขนงจำนวนสามแขนง แขนงแรกเป็นแขนงที่ใหญ่ที่สุดของส่วนโค้งเอออร์ติก เรียกว่า แขนงส่วนโคนเบรเกียวเซฟาลิก (Brachiocephalic trunk) ตั้งอยู่ทางด้านขวาเยื้องมาทางด้านหน้าเล็กน้อย และแยกต่ออีกเป็นสองแขนงที่ด้านหลังกระดูกกลางหน้าอกส่วนบนของกระดูกอก ต่อมาคือ แขนงหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย (Left common carotid artery) แยกออกจากส่วนโค้งเอออร์ติดทางด้านซ้ายของส่วนโคนเบรเกียวเซฟาลิก จากนั้นทอดตัวขึ้นไปทางด้านซ้ายของหลอดลม และผ่านกระดูกหน้าอกส่วนบน แขนงสุดท้าย คือ แขนงหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าซ้าย (Left subclavian artery) แยกออกมาจากส่วนโค้งเอออร์ติกทางด้านซ้ายของหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย และทอดตัวขึ้นไปพร้อมกับหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย ผ่านกระดูกหน้าอกส่วนบน และทอดตัวไปตามด้านซ้ายของหลอดลม[5]:216 และด้วยความแตกต่างทางด้านกายวิภาค ทำให้หลอดเลือดแดงกระดูกสันหลังซ้าย (Left vertebral artery) สามารถเกิดขึ้นจากส่วนโค้งเอออร์ติกแทนที่หลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายได้

ส่วนโค้งเอออร์ติดก่อตัวขึ้นเป็นเส้นโค้งสองเส้น เส้นแรกคือส่วนที่โค้งขึ้นไปด้านบน และอีกเส้นคือส่วนที่โค้งออกไปทางซ้าย ขอบด้านบนของส่วนโค้งมักจะมีความยาวประมาณ 2.5 ซม. ข้างใต้ขอบด้านบนไปยังกระดูกสันอก[3] โดยเลือดจะไหลจากส่วนโค้งด้านบน ไปยังส่วนบนของร่างกายในส่วนที่อยู่เหนือหัวใจ ได้แก่ แขน คอ และ ศรีษะ

ส่วนที่ออกมาจากหัวใจอย่างเอออร์ตาบริเวณอก จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดได้ 40 มิลลิเมตรในส่วนที่เป็นรากของหลอดเลือด เมื่อเวลาผ่านไป มันจะกลายมาเป็นเอออร์ตาส่วนขึ้น และเส้นผ่านศูนย์กลางของมันควรอยู่ที่น้อยกว่า 35–38 มิลลิเมตร จากนั้นจึงลดลงเหลือ 30 มิลลิเมตรที่บริเวณส่วนโค้งเอออร์ติก และลดลงจนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ควรเกิน 25 มิลลิเมตรที่เอออร์ตาส่วนลง[6][7]

ส่วนโค้งเอออร์ติกนั้นทอดตัวอยู่ในเมดิแอสตินัม

การพัฒนา

ส่วนโค้งเอออร์ติก เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเอออร์ตาส่วนขึ้นและเอออร์ตาส่วนลง และส่วนกลางของมันถูกสร้างขึ้นจากซุ้มเอออร์ติกฝั่งซ้ายลำดับที่ 4 ในช่วงของการพัฒนาระยะแรก[8]

หลอดเลือดดักตัสอาร์เตอริโอซัส (Ductus arteriosus) จะเชื่อมไปยังส่วนล่างของส่วนโค้งในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะช่วยให้เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาส่วนใหญ่ไหลอ้อมหลอดเลือดปอดในระหว่างการพัฒนา

ส่วนสุดท้ายของส่วนโค้งเอออร์ติกรู้จักในชื่อ คอคอดเอออร์ตา (isthmus of aorta) เหตุที่เรียกเช่นนี้มันเป็นส่วนที่ทำให้เอออร์ตาตีบแคบ (เหมือนคอคอด) ซึ่งเป็นผลมาจากการลดการไหลของเลือดเมื่อตอนที่เป็นทารกในครรภ์ โดยหัวใจห้องล่างซ้ายจะมีขนาดที่เพิ่มขึ้นแบบนั้นไปตลอดชีวิต และในที่สุดการตีบแคบนั้นก็จะขยายออกจนเป็นขนาดปกติ แต่ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น มันสามารถส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดเอออร์ตาคอดได้[9][10] ส่วนหลอดเลือดดักตัสอาร์เตอริโอซัสที่เชื่อมต่ออยู่กับส่วนสุดท้ายของส้วนโค้งของทารกในครรภ์ มันจะกลายเป็นเอ็นอาร์เตอริโอซุมเมื่อหลอดเลือดดังกล่าวนั้นฝ่อไป[9]

ความแตกต่าง

ความแตกต่างมีอยู่สามประการทั่วไปในการเกิดของแขนงของส่วนโค้งเอออร์ติก ประมาณ 75% ของมนุษย์ จะมีแขนงแบบ "ปกติ" ดังเช่นที่อธิบายไปในข้างต้น แต่ในบางบุคคลนั้น หลอดเลือดแดงร่วมคอซ้ายอาจแยกออกมาจากหลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิก แทนที่จะเป็นส่วนโค้งเอออร์ติกได้ ส่วนในกรณีอื่น ๆ นั้น หลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิกและหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย อาจมีการแบ่งปันจุดเริ่มต้นร่วมกันก็ได้[11] ความแตกต่างนี้พบในประชากรประมาณ 20% ส่วนแบบที่สามคือ หลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิก จะแยกออกเป็นสามหลอดเลือดแดง นั้นคือ หลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย หลอดเลือดแดงร่วมคอขวา และหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าขวา ลักษณะนี้จะพบในประชากรประมาณ 7%[11]

ใกล้เคียง

ส่วนโค้งเอออร์ตา ส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนสว่างจัดจ้า สวนโอ่ว สวนโบราณแห่งซูโจว สวนโมกขพลาราม ส่วนต้นของกระดูกต้นแขน ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ส่วนสูงของประธานาธิบดีสหรัฐ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ส่วนโค้งเอออร์ตา http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.wrongdiagnosis.com/medical/aortic_knob.... http://www2.highlands.edu/academics/divisions/scip... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22457691 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22623372 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3309453 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/sites/entrez?cmd=retri... http://users.atw.hu/blp6/BLP6/HTML/C01897803230458...