ชื่อเรียก ของ ส้วมในประเทศญี่ปุ่น

ในสมัยโบราณส้วมถูกเรียกว่า "ฮะบะกะริ (はばかり)", "เซตชิง (雪隠)", "โชซุ (手水)" แต่ตั้งแต่สมัยโชวะเป็นต้นมาศัพท์ที่ใช้เรียกส้วมก็ถูกเปลี่ยนเป็นคำที่ใช้ในปัจจุบันเช่น "โอะเตะอะระอิ  (お手洗い)", "เคะโชชิสุ (化粧室)" รวมทั้งเริ่มมีการใช้คำทับศัพท์เช่น "โทะอิเระ (トイレ)" ด้วย

คำว่า “โทะอิเระ” (トイレ) เป็นศัพท์ที่ย่อมาจากคำว่า "toilet" ในภาษาอังกฤษ[7] และสามารถหมายถึงทั้งโถส้วมและห้องที่มีโถส้วมอยู่ คำศัพท์ที่ใกล้เคียงกันคือ “โอะเตะอะระอิ” (お手洗い แปลว่าการล้างมือ) ซึ่งในความหมายอย่างแคบหมายถึงอ่างล้างมือ และเป็นคำแปลที่ยืมมาจากคำว่า "lavatory" ในภาษาอังกฤษ[8] การใช้คำศัพท์นี้คล้ายคลึงกับคำว่า "bathroom" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันที่ใช้หมายถึงห้องที่มีอ่างอาบน้ำ และ "toilet" ซึ่งหมายถึงการทำความสะอาดตนเอง นอกจากนี้มักพบคำว่า เคะโชชิสุ (化粧室 แปลว่าห้องแต่งหน้า) ซึ่งยืมมาจากคำว่า powder room ตามป้ายในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต คำศัพท์พื้น ๆ อีกคำที่หมายถึงส้วมคือคำว่า "เบ็นโจะ" (便所 แปลว่าสถานที่เพื่อความสะดวก หรือสถานที่เพื่อถ่าย) ซึ่งมาจากคำว่า "เบ็น" (便) ซึ่งแปลว่า "ความสะดวก" หรือ "การขับถ่าย" ศัพท์คำนี้ถูกใช้โดยทั่วไป[8] มักใช้ในโรงเรียนประถม สระน้ำสาธารณะ และในสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ศัพท์คำนี้ไม่ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ แต่คนส่วนมากนิยมใช้ศัพท์คำอื่นที่ฟังไพเราะกว่า[a]

ส้วมในความหมายของเครื่องสุขภัณฑ์จะถูกเรียกว่า "เบ็งกิ" (便器) ที่นั่งเรียกว่า "เบ็นซะ" (便座)[9] กระโถนสำหรับเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วยเรียกว่า "โอะมะรุ" (บางครั้งเขียนว่า 御虎子)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ส้วมในประเทศญี่ปุ่น http://www.damninteresting.com/?p=316 http://www.japan-guide.com/e/e2003.html http://www.nytimes.com/2002/10/08/world/nara-journ... http://www.taipeitimes.com/News/biz/archives/2003/... http://www.thejapanesepage.com/culture/toilets.htm http://www.theplumber.com/japan.html http://www.tomcoyner.com/japan_is_flush_with_obses... http://www.trendir.com/archives/003318.html http://tzcommunity.free.fr/index.php?page=world&li... http://www.excite.co.jp/News/bit/00091207303805.ht...