การเป็นพืชพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ของ หญ้าคา

หญ้าคาเป็นพืชต่างถิ่นรุกราน(invasive alien species) และเป็นวัชพืชอายุหลายปีแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วด้วยการแตกหน่อจากไหลใต้ดินที่มีใบเกล็ดปกคลุมและการกระจายตัวของเมล็ด หญ้าคาสามรถผลิตเมล็ดได้มากถึง 3,000 เมล็ดต่อต้น เจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินที่แห้งและดินที่ชื้นและสามารถขึ้นปกคลุมพื้นที่โล่ง หรือ บริเวณที่ถูกทำลายได้ดีมาก[2]

หญ้าคาสร้างความเสียหายต่อพรรณพืชดั้งเดิมคือ แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ ทำให้กล้าไม้อื่น ๆ ไม่สามารถขึ้นอยู่ได้เป็นเหตุทำให้พืชดั้งเดิมลดจำนวนลง บริเวณที่มีหญ้าคาปกคลุม พื้นที่บริเวณนั้นจะไม่มีพืชชนิดอื่น เนื่องจากหญ้าคาจะมีการปล่อยสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชอื่น ประกอบกับระบบรากที่มักแผ่กระจายหนาแน่นปกคลุมดินชั้นบนทำให้ยากแก่การงอกของพืชชนิดอื่น และในช่วงฤดูร้อน หญ้าคาที่แห้งเป็นเชื้อเพลิงได้ดีซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัย ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณรอบข้างอย่างมาก หญ้าคาระบาดได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างหรือตามพื้นที่เกษตรกรรม พบระบาดมากในทุกพื้นที่ในประเทศไทย ยกเว้นภาคกลางที่มีการระบาดปานกลาง[3]