ประวัติ ของ หนังสือโต๊ะกาแฟ

ในสหราชอาณาจักรคำว่า "หนังสือโต๊ะกาแฟ" ถูกนำมาใช้ (ในความหมายปัจจุบัน) อย่างน้อยที่สุดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19[2] และยังคงใช้อยู่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950[3]

เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ผู้จัดพิมพ์ อัลเบิร์ต สกิรา (Albert Skira) และอีกสองสามรายเช่น Cailler and Editions Tisné; Éditions Mazenod และ แฮรี่ เอ็น แอบรัมส์ (Harry N. Abrams) เริ่มผลิตหนังสือขนาดใหญ่สี่หน้ายกและแปดหน้ายก (4to) ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะที่มีภาพประกอบเป็นหน้าสีแทรก สำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาหนังสือโต๊ะกาแฟให้เป็นที่รู้จักกันในทุกวันนี้[4][5][6]

นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เดวิด อาร์. เบราเออร์ (David R. Brower) บางครั้งก็ได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ประดิษฐ์หนังสือโต๊ะกาแฟสมัยใหม่[7] ขณะที่เบราเออร์เป็นผู้อำนวยการบริหารของ เซียร์รา คลับ (Sierra Club) ก็เกิดความคิดที่จะพิมพ์หนังสือชุดหนึ่งที่รวมภาพถ่ายและบทเขียนเกี่ยวกับธรรมชาติอย่างที่ให้ “ขนาดของหน้าใหญ่พอที่จะแสดงไดนามิคของภาพ ที่ทำให้สายตาที่ทอดมองต้องสอดส่ายไปตามเนื้อหาของภาพ แทนที่จะมองรวดเดียวจบ” หนังสือเล่มแรกในชุดนี้ชื่อ "This is the American Earth" (นี่คือปฐพีของสหรัฐ) โดยมีภาพที่ถ่ายโดย แอนเซิล แอดัมส์ (Ansel Adams) ช่างถ่ายภาพผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและผู้อื่น และเนื้อหาที่เขียนโดยนักวิพากษ์ภาพถ่าย แนนซี นิวฮอลล์ (Nancy Newhall) หนังสือพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1960 และชุดหนังสือเรียกกันว่าชุด “รูปแบบนิทรรศน์” (Exhibit Format) ที่มีด้วยกันทั้งชุด 20 เล่ม[8]

ใกล้เคียง

หนังสือเดินทางไทย หนังสือปฐมกาล หนังสืออิสยาห์ หนังสืออพยพ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือรุ่นพลอย หนังสือกันดารวิถี หนังสือเลวีนิติ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ