งานวิจัยทางเภสัชวิทยา ของ หนานเฉาเหว่ย

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหิดล ระบุว่า สารสกัดน้ำของใบหนานเฉาเหว่ย มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย และ ต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ได้ แต่งานวิจัยทั้งหมดนี้ยังอยู่ในห้องแล็ปเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทดสอบในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับการศึกษาเรื่องความความเป็นพิษของหนานเฉาเหว่ยในสัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล และผงใบหนานเฉาเหว่ย ให้หนูแรท ขนาด 100 - 1,000 มก./วัน เป็นเวลา 28 - 65 วัน ให้แก่สัตว์ทดลอง ไม่พบความผิดปกติของตับและไต และผลต่อค่าชีวเคมีอื่นในเลือด แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบรูปแบบการศึกษาถึงขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมในมนุษย์ รวมไปถึงการศึกษาความเป็นพิษหากกินแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน[10] จากประสบการณ์จริงของผู้เขียนบทความ การรับประทานใบอย่างต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเท้าบวม เมื่อหยุดรับประทานเท้ากลับเป็นปรกติอาการบวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงมั่นใจได้ว่ามีผลกระทบต่อไต อย่างแน่นอน ผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับไต จึงควรใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์[11][12] หากน้ำตาลในร่างกายต่ำกว่าปกติ อาจเกิดอาการใจสั่น หน้ามืด หรือรุนแรงจนช็อก[13] ผู้ป่วยโรคตับ ที่รับประทานเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยอาการจะเริ่มปรากฏด้วยอาการขาบวม จึงควรงดใช้ทันทีหากปรากฏอาการดังกล่าว[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนานเฉาเหว่ย http://www.deepsnews.com/contents/6873 http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-7611... http://m.tnews.co.th/contents/446145 http://esc.agritech.doae.go.th/wp-content/uploads/... https://goodlifeupdate.com/healthy-body/108259.htm... https://health.kapook.com/view199853.html https://www.postsod.com/gaunt-cancer-diabetes https://www.mcot.net/view/5b8e9d58e3f8e40ad7f4f818... https://species.wikimedia.org/wiki/Gymnanthemum_ex... https://en.wikipedia.org/wiki/Gymnanthemum_extensu...