ประวัติ ของ หน่วยกู้ภัยเวียงจันทน์

ในปี ค.ศ. 2007 กลุ่มอาสาสมัครจากมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือคนยากจนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใช้รถพยาบาลที่ได้รับบริจาค เพื่อจัดตั้งกองกำลังกู้ภัยนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อให้บริการปฐมพยาบาลในวันหยุดสุดสัปดาห์[4] ครั้นในปี ค.ศ. 2010 เซบัสเตียง แปเร ซึ่งเป็นแพทย์และนักดับเพลิงชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในเวียงจันทน์ ได้เข้าร่วมมูลนิธิรวมกับชาวลาวชื่อไพจิตร โคนปทุม และอาสาสมัครอายุ 15 ปีจำนวน 5 คน ได้จัดตั้งหน่วยกู้ภัยเวียงจันทน์ขึ้น เพื่อให้บริการฟรีเป็นครั้งแรกของประเทศ โดยให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง[2][5]

ในช่วงปีแรก ๆ อาสาสมัครต้องเผชิญกับการขาดเงินทุน, อุปกรณ์ และการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ และมักไม่สามารถตอบสนองต่อการเรียกร้องความช่วยเหลือ อีกทั้งในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการสูญเสียรถพยาบาลที่มีอยู่เพียงคันเดียว และบริการกู้ภัยต้องระงับเป็นเวลาหนึ่งปีขณะที่มีการรวบรวมเงินเพื่อซื้อรถใหม่[2][4]

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หน่วยกู้ภัยเวียงจันทน์ได้ขยายจำนวนอาสาสมัครถึงกว่า 200 คน ที่ทำงานจากสถานที่ต่าง ๆ 4 แห่งในเวียงจันทน์ พวกเขาตอบสนองต่อ 15-30 อุบัติเหตุต่อวัน และตามมติคณะกรรมการตัดสินรางวัลรามอน แมกไซไซ ค.ศ. 2016 ได้ยอมรับต่อการช่วยชีวิตผู้คนนับหมื่นระหว่างปี ค.ศ. 2011 ถึงปี ค.ศ. 2015 [2]

ใกล้เคียง

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หน่วยผจญคนไฟลุก หน่วยยามชายแดน หน่วยยามฝั่ง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: หน่วยกู้ภัยเวียงจันทน์ http://rmaward.asia/awardees/vientiane-rescue/ http://www.abc.net.au/news/2014-11-22/volunteers-s... http://www.aljazeera.com/indepth/features/2016/03/... http://www.bangkokpost.com/print/1046005/ http://jclao.com/vientiane-rescue-teams-report-on-... http://www.scmp.com/magazines/post-magazine/long-r... http://www.associations.gouv.fr/ceremonie-d-annonc... https://www.facebook.com/Vientianerescue1623 https://vientianerescue.org/