หน้าต่างเนวาร์
หน้าต่างเนวาร์

หน้าต่างเนวาร์

หน้าต่างเนวาร์ (เนปาล: नेवार झ्याल; เนวาร ฌยาล) เป็นคำเรียกหน้าต่างไม้ที่แกะสลักอย่างวิจิตร อันเป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมเนปาลแบบธรรมเนียม[1] รวมถึงได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมและงานช่างของวัฒนธรรมเนวาร์[2] ระดับชั้นของความซับซ้อนและวิจิตรในการแกะสลักหน้าต่างเนวาร์มาถึงจุดสูงสุดในตอนกลางของศตวรรษที่ 18 หน้าต่างเนวาร์สามารถพบได้ตามพระราชวัง, บ้านเรือน และศาสนสถานต่าง ๆ ทั่วทั้งเนปาลมณฑล[3]ชื่อ, เสาข้าง และบานหน้าต่าง ประดับประดาด้วยเทวรูป, ประติมากรรมรูปสัตว์ในตำนาน, มังกร, นาค, นกยูง, หม้อกลัศ และองค์ประกอบอื่น ๆ และหน้าต่างอาจถูกครอบด้วยฉัตรเชิงพิธีกรรม บ้านเรือเนวาร์มักใช้หน้าต่างรูปแบบที่ต่างกันไปในแต่ละชั้นของบ้าน ต่างกันไปตามการใช้สอย[4] ในช่วงศตวรรษ 21 หน้าต่างแบบเนวาร์เริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งเนื่องมาจากความนิยมในงานสถาปัตยกรรมเนวาร์ อันเป็นผลมาจากการท่องเที่ยวและความตระหนักในวัฒนธรรมที่มีเพิ่มขึ้น[5]หนึ่งในรูปแบบที่พบมากที่สุดของหน้าต่างเนวาร์คือ สันชญา (เทวนาครี: सँझ्या; Sanjhyā) ซึ่งเประกอบด้วยสามหน่วย และมักตั้งอยู่ตรงจุดกลางของฟาซาด ส่วนใหญ่มักใช้เป็นหน้าต่างของชั้นสามของอาคาร[6][7]