หมอกน้ำค้าง
หมอกน้ำค้าง

หมอกน้ำค้าง

หมอกน้ำค้าง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากละอองน้ำแขวนลอยอยู่ในอากาศ[1] หมอกน้ำค้างเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระจายในทางฟิสิกส์ พบได้ทั่วไปเมื่ออากาศอุ่นชื้นสัมผัสกับความเย็นเฉียบพลัน[2] เช่น การหายใจออกในฤดูหนาว หรือการราดน้ำลงบนเตาซาวน่าที่ร้อน นอกจากนี้ยังพบในธรรมชาติเมื่ออากาศชื้นเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว หมอกน้ำค้างจัดเป็นละอองลอย หรือของผสมที่ประกอบด้วยอนุภาคละอองฟุ้งกระจายในก๊าซอื่น[3]หมอกน้ำค้างก่อตัวเหมือนเช่นการแขวนลอยอื่น ๆ คือเกี่ยวข้องกับการมีอยู่ของนิวเคลียสผลึกในละอองน้ำที่แขวนลอย ซึ่งนิวเคลียสผลึกเหล่านี้มีส่วนในการจับตัวของละอองน้ำ[4] นอกจากนี้ฝุ่นละอองอื่น ๆ เช่น การปะทุของภูเขาไฟ การปล่อยแก๊สมีขั้วจัด หรือไอออนแม็กนีโตสเฟียร์ของออโรราสามารถก่อให้เกิดหมอกน้ำค้างได้ในสภาวะที่เหมาะสมหมอกน้ำค้างมักสับสนกับหมอก ซึ่งลักษณะคล้ายเมฆสเตรตัสที่ลอยตัวระดับพื้นดิน ทั้งนี้หมอกกับหมอกน้ำค้างมีกระบวนการก่อตัวคล้ายกัน แต่หมอกจะหนาและคงอยู่นานกว่า ขณะที่หมอกน้ำค้างจะเบาบางและโปร่งแสงกว่า ทัศนวิสัยเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการจำแนกหมอกกับหมอกน้ำค้าง กล่าวคือหมอกจะมีทัศนวิสัยต่ำกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนหมอกน้ำค้างมีทัศนวิสัยเท่ากับหรือมากกว่า 1 กิโลเมตร[5]