ที่มาของหมั่นโถว ของ หมั่นโถว

กล่าวกันว่าในประเทศจีน ในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 189–220) เมื่อคราวเบ้งเฮ็ก ผู้ปกครองชาวม่านทางตอนใต้ของจ๊กก๊กคิดกบฏ ขงเบ้งจึงต้องยกทัพลงมาปราบ ขงเบ้งรบกับชาวม่านมีชัยแต่ก็เสียใจมากเพราะได้เข่นฆ่าชีวิตมนุษย์ไปจำนวนมาก วิญญาณเหล่านั้นร้องครำครวญและสำแดงลมวิปริตขณะที่ทัพขงเบ้งจะข้ามสะพานลกซุย เบ้งเฮ็กจึงแนะนำขงเบ้งให้ทำพิธีเซ่นไหว้ตามธรรมเนียมม่าน แต่ต้องฆ่าคน 50 คนมาทำการเซ่นไหว้ ขงเบ้งไม่อยากฆ่าคนเพิ่มจึงปั้นแป้งสาลีเป็นรูปหัวคนยัดไส้ด้วยเนื้อวัวเนื้อม้าแล้วเอาไปนึ่ง ขงเบ้งแนะนำชาวม่านว่าเซ่นไหว้ครั้งต่อไปให้ใช้แป้งยัดไส้นี้เถิดอย่าได้ฆ่าคนอีกต่อไปเลย

โดยที่คำว่า "หมั่นโถว" (饅頭) มีความหมายว่า "หัวเชลยชาวม่าน"[1]

แต่บางส่วนก็เชื่อว่าหมั่นโถวมีที่มาที่เก่าแก่กว่านี้ โดยเชื่อว่าหมั่นโถวถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคชุนชิวหรือยุคจ้านกว๋อ (ก่อนค.ศ. 770–221) แล้ว เพราะเวลานั้นชาวจีนก็รู้จักใช้เครื่องโม่และครก และรู้จักใช้รำข้าวสาลีมาผลิตเป็นอาหารแล้ว [1]