ลักษณะ ของ หมากสง

ลำต้น

หมากเป็นที่มีลำต้นเล็ก มีความสูงปานกลาง (ประมาณ 20 เมตร) แต่ด้วยขนาดลำต้นที่เล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 เซนติเมตร) ทำให้ดูสูงมาก เป็นไม้ประดับได้ด้วย

ใบ

ใบยาว 1.5 - 2 เมตร ลักษณะเหมือนใบมะพร้าว มีใบดก แต่มีความบอบบาง ก้านใบและส่วนใบไม่นิยมใช้ประโยชน์ ส่วนของกาบใบ เรียกว่า กาบปูเล มีความหนา และแข็งพอสมควร นิยมนำมาใช้ห่อของ ทำซองใส่มีด และชาวบ้านในภาคใต้ทำพับห่อทำเป็นภาชนะสำหรับตักน้ำ เรียกว่า หมา หรือ หมาตักน้ำ ขณะที่เด็กๆ ยังนำไปรองนั่ง ผลัดกันลาก เป็นของใช้เล่นอีกอย่างหนึ่งของเด็กไทยสมัยก่อน

ผล

ภาพวาดหมากในคริสต์ศวรรษ ที่19

ผลของหมากเป็นรูปกลมรีคล้ายลูกรักบี้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านกว้างประมาณ 1 - 2 นิ้ว ด้านยาวประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว เปลือกนอกเป็นเส้นใย ผิวของผลเมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่แล้วออกสีส้มแดง เรียกว่า สีหมากสุก เมื่อผลสุกจะร่วงจากขั้ว หากปล่อยไว้ เปลือกจะเหี่ยวแห้ง ยุ่ย สามารถดึงออก เหลือแต่เหมล็ดข้างในได้โดยง่าย หมากเป็นพืชที่มีเกษรตัวผู้และเกษรตัวเมียอยู่ในทะลายดียวกัน

ส่วนที่เรียกว่าหมากจริงๆ ก็คือ ส่วนเมล็ดข้างในผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เมื่อยังอ่อนมีสีขาวนวลจนถึงเหลือง เนื้อนิ่ม พอแก่ลงจะหนามากขึ้น และสีคล้ำ จนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใช้กินกับปูนแดงและพลู เป็นของกินเล่นที่สำคัญของชาวไทยและหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาช้านาน

การเก็บหมากนั้น ไม่สามารถใช้ไม้สอยได้อย่างมะพร้าว เพราะหมากมีต้นสูง จึงต้องใช้คนปีนขึ้นไปเก็บ แต่คนปีนหมากจะมีเทคนิคการปีน เมื่อขึ้นไปถึงข้างบนต้นหนึ่ง และเก็บหมากโยนลงมาแล้ว จะไม่ไต่ลงมายังโคนต้น แต่จะโยกต้นหมากให้เอนไปหาต้นอืน แล้วกระโดดจับต้นอื่น เป็นอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าจะไม่มีต้นหมากที่อยู่ใกล้กัน