ความสัมพันธ์กับมนุษย์ ของ หมาจิ้งจอก

เชิงวัฒนธรรม

หมาจิ้งจอก มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ ในความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออก เชื่อกันว่าจิ้งจอกที่มีอายุมาก ๆ จะเป็นปีศาจสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของหมาจิ้งจอกนั้นไม่ทำร้ายคนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ และในนิทานหลายเรื่อง เช่น นิทานอีสปก็จะมีอ้างอิงถึงหมาจิ้งจอกอยู่มากด้วยเช่นกัน เช่น องุ่นเปรี้ยว, หมาหางด้วน หรือ สิงโตกับหมาจิ้งจอก เป็นต้น[5] ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าหมาจิ้งจอกเป็นตัวแทนของอินาริ (ญี่ปุ่น: 稲荷) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และพืชพรรณธัญญาหาร[6]

การเลี้ยงหมาจิ้งจอก

ในอดีตมีการค้นพบว่าหมาจิ้งจอกแดงสามารถนำมาเลี้ยงให้เชื่องได้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงไว้ได้นาน ปัจจุบันมีหมาจิ้งจอกเงินในประเทศรัสเซีย[7]ที่มนุษย์สามารถนำไปเลี้ยงเป็นแบบหมาบ้านได้ เพราะหมาจิ้งจอกเงินดังกล่าวได้ผ่านการผสมพันธุ์เพื่อที่จะให้เป็นสัตว์เชื่องโดยเฉพาะมาเป็นเวลา 50 ปี พฤติกรรมของหมาจิ้งจอกเงินเหล่านี้คล้ายกับหมาบ้านมาก มนุษย์สามารถลูบหัวหรืออุ้มกอดได้ มักร้องเรียกคนและเลียคนโดยไม่มีความหวาดกลัว[8] ที่ญี่ปุ่น มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดมิยะงิ เป็นสถานที่เลี้ยงหมาจิ้งจอกเอาไว้มากกว่า 6 สายพันธุ์ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[6]

ใกล้เคียง

หมาจิ้งจอก หมาจิ้งจอกทอง หมาจิ้งจอกอาร์กติก หมาจิ้งจอกแดง หมาจิ้งจอกเฟนเนก หมาจิ้งจอกหูค้างคาว หมาจิ้งจอกเบงกอล หมาจิ้งจอกข้างลาย หมาจิ้งจอกหลังดำ หมาจิ้งจอกอินเดีย