ประวัติ ของ หมู่บ้านน้ำริดใต้

ความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน

จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)

บ้านน้ำริดใต้ เป็นคำที่มาจากคำว่า “น้ำฤทธิ์” ซึ่งมีประวัติความเป็นมาจากในช่วงของสมัยปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ กองทัพสยามจากกรุงเทพ นำทัพโดยแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ขณะเดินทัพมาถึง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2445 เพื่อไปปราบพวกกบฏเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ จึงได้ยกทัพมาต้านกองทัพเงี้ยวเอาไว้ ณ บริเวณเขาพลึง และได้อาศัยน้ำจากคลองริดเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ อุปโภค – บริโภค ซึ่งในช่วยของการสู้รบกันนั้น ทหารของทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เกิดหมดแรง แต่เมื่อดื่มน้ำจากคลองริดแล้ว ทำให้มีเรี่ยวแรงมีฤทธิ์ขึ้นมาจากทำให้สามารถสู้รบเอาชนะกองทัพเงี้ยวได้ในที่สุด จึงเรียกว่า “คลองฤทธิ์” กันเรื่อยมา ต่อมาการออกเสียงคำว่า “ฤทธิ์” จึงค่อย ๆ กลายมาเป็นคำว่า “ริด” และใช้คำนี้สืบต่อกันเรื่อยมาจนปัจจุบัน[1]

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

บ้านเรือนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านน้ำริดใต้ในปัจจุบัน

น้ำริด เดิมตั้งอยู่ในอำเภอลับแล ชาวบ้านที่อยู่ในตำบลน้ำริดบางส่วนเป็นคนภายในพื้นที่ บางส่วนมาจากอำเภอลับแล และบางส่วนก็อพยพมาจากจังหวัดแพร่ อันเนื่องมาจากภัยสงคราม ต่อมามีลูกหลาน มีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อตั้งมาเป็นแหล่งชุมชนจนถึงปัจจุบันและได้นำชื่อคลองมาตั้งเป็นตำบลน้ำริด และใช้ชื่อนี้มาเป็นชื่อตำบลจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันตำบลน้ำริดมีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน

โดยหมู่บ้านน้ำริดใต้ หมู่ 1 นั้น เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่นี่ อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งคลอง ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก หลังจากที่กองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เสร็จศึกจากการปราบกองทัพเงี้ยวแล้วนั้น ทหารบางส่วนที่ได้ยกทัพกลับไป บางส่วนก็ได้สร้างหลักปักฐานอยู่บริเวณบ้านน้ำริดแห่งนี้[1]

ใกล้เคียง

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หมู่บ้านฝาย (จังหวัดอุตรดิตถ์) หมู่บ้านหาดเสือเต้น หมู่บ้านป่าขนุน หมู่บ้านสันติคีรี หมู่บ้านหัวหาด หมู่บ้านป่ากล้วย หมู่บ้านลุ่ม หมู่บ้านกกค้อ หมู่บ้าน