การปฏิบัติภารกิจ ของ หม่อมทิพวัน_กฤดากร_ณ_อยุธยา

ด้านการถวายความจงรักภักดี

ในปี พ.ศ. 2452 หม่อมทิพวันได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณในการถวายพระอภิบาลแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายเล็ก ๆ ที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาอยู่ในยุโรปในเวลานั้นหลายพระองค์ ในฐานะภริยาเอกอัครราชทูต และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงก็ได้ทรงเมตตาเป็นพิเศษ พระราชทานเครื่องเพชรประดับกายอย่างสมเกียรติ

หม่อมทิพวันได้มีโอกาสรำถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2469 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ให้แก่หม่อมทิพวันในครั้งนั้น[2]

ด้านการเกษตร

หม่อมทิพวันได้สร้างเตาบ่มใบยาสูบ ที่บ้านหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และริเริ่มเพาะปลูกและบ่มใบยาเวอร์ยิเนียเป็นรายแรกในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2486[2]

ด้านการศึกษา ศาสนา และสังคม

หม่อมทิพวัน ได้บริจาคที่ดิน 9 ไร่ เพื่อสร้างวัด เมื่อปี พ.ศ. 2482 และได้เป็นประธานสร้างพระวิหาร ในปี พ.ศ. 2490 สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2494 ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวในการก่อสร้าง 81,500 บาท ชาวบ้านจึงได้ขนานนามวัดนี้ว่า "วัดทิพวนาราม"[4]

ในปี พ.ศ. 2483 เจ้าทิพวัน ได้มอบที่ดินจำนวน 10 ไร่ เพื่อสร้างโรงเรียนประชาบาลประจำตำบลหนองหาร ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนบ้านหนองหาร (ทิพวันอุทิศ)[5]

หม่อมทิพวัน เคยได้รับตำแหน่งนายกสมาคมสตรีศรีล้านนา เมื่อปี พ.ศ. 2496 และเป็นกรรมการสมาคมผู้บ่มเพาะปลูกยาสูบแห่งประเทศไทย[2]

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล