การทำงาน ของ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์_สวัสดิวัตน์

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 เคยดำรงตำแหน่งในฝ่ายบริหาร เป็นผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนา เป็นผู้จัดการสำนักงานจัดการทรัพย์สิน เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี และเป็นคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2550-2553 นอกจากนี้เขายังเคยเป็น กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ และเคยได้รับรางวัลนักวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2552 [4] นอกจากนี้เขายังเคยเป็นกรรมการในบริษัทมหาชนอันได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็มเอฟอีซี จำกัด (มหาชน)[5]

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการนำระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหารงานพัฒนาชนบทของประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ ซึ่งเขาได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน กชช 2ค และ จปฐ [6][7] ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งใช้งานในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และระบบได้รับการพัฒนาปรับปรุงและใช้งานประจำอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินงาน[8]

ในปี พ.ศ. 2553 ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้เสนอตัวสมัครเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาฯ เป็น 2 รายชื่อสุดท้ายเพื่อให้ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยลงมติ ซึ่งผลการลงมติ ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้คะแนน 5 เสียง ส่วน สมคิด เลิศไพฑูรย์ ได้ 25 เสียง[9]

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[10] (โควตาของพรรคชาติพัฒนา)[11][12] แต่จากการสำรวจความรับรู้ของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 10 [13] แต่ผลงานที่สำคัญของเขาคือการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนชาวต่างประเทศโดยรักษาฐานการลงทุนสำคัญที่มีการจ้างงานกว่า 440,000 คนใว้ให้อยู่ในประเทศไทยต่อไปได้ ในขณะเดียวกันยอดการขอรับการลงทุนรายใหม่ในรอบ 10 เดือนของปี 2555 สูงขึ้นกว่าปีก่อนอย่างเป็นประวัติการณ์กว่า 200,000 ล้านบาท[14] อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เขาถูกปรับให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยมีนายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา มาเข้ารับตำแหน่งแทน

ภายหลังการพ้นจากตำแหน่ง ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ ได้กลับไปเป็นอาจารย์ที่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังเข้าร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ ด้านโลจิสติกส์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ในการทำงานด้านวิชาการต่อไป

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

แหล่งที่มา

WikiPedia: หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์_สวัสดิวัตน์ http://inforcenter.kku.ac.th http://www2.itu.tu.ac.th/itu/web/?q=10_1 http://www.tu.ac.th/org/research/%E0%B8%AA%E0%B8%B... http://www.tu.ac.th/overview/admin/tucommittee/dir... http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?Ne... http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?news... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.thairath.co.th/content/eco/287216 http://archive.voicetv.co.th/content/23245/%E0%B8%...