เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ของ หม่อมเจ้าการวิก_จักรพันธุ์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หม่อมเจ้าการวิกทรงสมัครเป็นทหารเสรีไทยสายอังกฤษ เป็นคณะที่ 6 ที่โดดร่มเข้าไทย หม่อมเจ้าการวิกทรงถูกจับคู่ให้ปฏิบัติการกับอรุณ สรเทศน์ หรือ ไก่ฟ้า ซึ่งรับหน้าที่เป็นหัวหน้า เข้ามาโดดร่มจริงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่สถานีทดลองเกษตร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย มีแสวง กุลทองคำ หัวหน้าสถานี และภรรยา เฝ้ารอรับเสด็จ พร้อมทั้งคณะของทศ พันธุมเสน และตำรวจ หม่อมเจ้าการวิกทรงตั้งค่ายฝึกอาสาสมัครชาวเขาที่จังหวัดตาก ทรงฝึกการรบนานถึง 5 เดือน แต่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เสียก่อนเมื่อถูกโจมตีด้วยระเบิดมหาประลัย หม่อมเจ้าการวิกและคณะจึงไม่ต้องรบ และได้เดินทางไปศูนย์บัญชาการขบวนการเสรีไทย จังหวัดพระนคร หม่อมเจ้าการวิกทรงบันทึกไว้ว่า

“เช้าวันแรกที่มาถึงกรุงเทพฯ ผู้ว่าปรงพาเราเข้าพบนายปรีดีที่ทำเนียบท่าช้าง (ปัจจุบันเป็นที่ทำการขององค์การยูนิเซฟ) ซึ่งนายปรีดีได้จัดงานเลี้ยงเป็นการขอบคุณและแนะนำบรรดาเสรีไทย ที่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ และท่านได้แนะนำว่าใครมาจากไหน พอถึงผมก็บอกว่าเป็น ‘เจ้า’ ที่มาจากอังกฤษ ทำเอาพรรคพวกเพื่อนฝูงทั้งผู้ว่าฯ และผู้ใหญ่บ้านหลายคนตกใจ เพราะเรียก ‘ท่านขุน’ หรือ ‘พี่ขุน’ หรือ ‘อาจารย์’ กันมาตลอด ตอนหลังเจอกัน เขาเข้ามาไหว้ และใช้ราชาศัพท์พูดด้วย ทำเอาเขินวางตัวไม่ถูกเหมือนกัน”

เมื่อสงครามสงบลง ไทยได้ประกาศสันติภาพในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามได้หัวหน้าเสรีไทยสายอเมริกา คือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช มาเป็นหัวหน้ารัฐบาล เหล่าอาสาทำงานเสรีไทยก็กลับสู่สถานะเดิม ใครเป็นนักเรียนก็กลับไปศึกษาต่อ ในปี พ.ศ. 2489 หม่อมเจ้าการวิก จึงเสด็จกลับอังกฤษ และทรงงานถวายสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งยังประทับอยู่ที่อังกฤษ[2][ระบุข้อมูลอ้างอิงไม่ครบ]

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล