พระประวัติ ของ หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า_อาภากร

หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์) เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติแต่หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457 และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 สิริชันษา 83 ปี มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 10 องค์ และมีขนิษฐาต่างพระมารดา 2 องค์

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์แมรี่ และได้อาสาสมัครเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ และในปี พ.ศ. 2489 ได้ทรงติดตามพระสวามีไปรับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และประทับอยู่จนถึง พ.ศ. 2493 โดยทรงใช้เวลาว่างในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและสามารถทำอาหารไทยและฝรั่งได้เป็นอย่างดี

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดา ในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภคหม่อมเจ้าดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 เชิญศิลาบด

ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 4 และ 5 เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด 16 องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดา ในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ เชิญศิลาบท แถวหน้า ลำดับที่ 1

หลังจากที่พลเรือเอกหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ได้สิ้นชีพิตักษัยลงขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2509 ท่านหญิงได้ทรงสละเวลาให้แก่กิจการสังคมสงเคราะห์อย่างเต็มที่ โดยทรงเข้ากลุ่มทำกิจกรรมเป็นกรรมการและเป็นประธานของสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก ที่ได้เริ่มตั้งขึ้นเมือปี 2511 และนอกจากนี้ท่านหญิงยังได้ทรงร่วมเสด็จไปแจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภค เวชภัณฑ์ต่างๆ ยังถิ่นทุรกันดารอยู่เสมอ และยังทรงเป็นประธานกรรมการจัดหาทุนเข้าสภากาชาดไทย โดยจัดกิจกรรมแข่งขันกอล์ฟการกุศลเป็นเวลาหลายปี

ท่านหญิงทรงเริ่มล้มป่วยลงเมื่อปี พ.ศ. 2539 ด้วยโรคพาร์กินสัน และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เข้าเป็นคนไข้ในพระราชินูปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2542 เวลา 8.20 น. ด้วยโรคพระหทัยวาย และปอดติดเชื้อ สิริพระชันษา 84 ปี[1]

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล