พระประวัติ ของ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก_โสณกุล

ในปีที่หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก ประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[1] จึงมีเจ้านายทูลขอพระราชทานพระนาม ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานพระนาม "รัชฎาภิเศก" สำหรับพระโอรส-ธิดาพระองค์อื่นที่ได้รับพระราชทานพระนามพร้อมกัน คือ หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล และหม่อมเจ้ารัชลาภจีระฐิต[1]

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากโรงเรียนเอาน์เดิล ประเทศอังกฤษ แล้วทรงศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยซิตีแอนด์กิลด์ มหาวิทยาลัยลอนดอน จนสำเร็จการศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์จาก ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน

ทรงรับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา[2] อธิบดีกรมศึกษาธิการ[3] อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] กรรมการอำนวยการคุรุสภา ศาสตราจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราจารย์องค์แรกของประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488 และ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี พ.ศ.2488 - พ.ศ. 2489

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2492 สิริชันษา 57 ปี

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์