พระประวัติ ของ หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช_จิรประวัติ

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล) มีโสทรอนุชาและโสทรขนิษฐา 3 องค์ ได้แก่

และมีอนุชาต่างพระมารดา 2 องค์ ได้แก่

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช เป็นที่รักและโปรดปรานของเจ้าจอมมารดาทับทิม ผู้เป็นอัยยิกาฝ่ายพระบิดามาก หลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกมาประทับอยู่วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระโอรสและพระธิดาทั้งสององค์นั้นกับทั้งหม่อมเจ้าวิมลปัทมราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสเรียกว่า "หญิงทับทิม" ซึ่งอัยยิกาเลี้ยงติดตัวมาแต่เล็ก ช่วยกันอุปฐากท่านมาด้วยกันกับหม่อมเจ้าที่เป็นพระสุนิสาและเป็นพระโอรส-ธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ซึ่งเจริญวัยสำเร็จการเล่าเรียนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับมา ให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขสบายจนตลอดชีวิต[2]

เมื่อยังเยาว์ เจ้าจอมมารดาทับทิมในรัชกาลที่ห้าผู้เป็นคุณย่าได้รับเลี้ยงไว้ หม่อมเจ้าหญิงวิมลปัทมราช จึ่งได้มีนิสัยกุลสตรีชาววังในสมัยนั้นติดอยู่มาก ทรงมีความสามารถในทางประณีตศิลปเช่นเย็บปักถักร้อย โปรดทำและจัดอาหารต่าง ๆ ทั้งที่ได้เคยเห็นมาในสมัยยังเยาว์ ทั้งที่ได้เคยเห็นมาใหม่ในสมัยต่อ ๆ มา โปรดรับเด็กหญิงมาเลี้ยงไว้เยี่ยงเจ้านายในวังทรงนิยมทำ

หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช มีฝีมือในการประกอบอาหารเป็นเลิศ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากเจ้าจอมมารดาทับทิมผู้เป็นอัยยิกาฝ่ายพระบิดา หม่อมเจ้าวิมลปัทมราชได้นิพนธ์ตำราอาหารไว้เมื่อตอนยังมีชนม์ชีพ ต่อมาเมื่อหม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 สิริชันษา 65 ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 ที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยตำราอาหารนั้นได้พิมพ์แจกในงาน

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล