หม่อมเจ้าสง่างาม_สุประดิษฐ์
หม่อมเจ้าสง่างาม_สุประดิษฐ์

หม่อมเจ้าสง่างาม_สุประดิษฐ์

หม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ (พ.ศ. 2400 - 23 เมษายน พ.ศ. 2460 ) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร กับหม่อมแช่ม สุประดิษฐ ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2400 เมื่อท่านเจริญพระชันษาก็ได้เข้ารับราชการ ทรงสมัครเข้าเป็นนายเสือป่าตั้งแต่แรกตั้งกองเสือป่าใน พ.ศ. 2454 และได้รับพระราชทานธงประจำตัวนายหมู่เสือป่าเป็นธงพื้นสีขาว (เพราะประสูติวันจันทร์) ลายกลางเป็นภาพ พราหมณ์แต่งตัว ซึ่งตรงกับพระนามสง่างาม และได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมีนบุรี โดยมีประกาศแต่งตั้งดังนี้หม่อมเจ้าสง่างาม ทรงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีนบุรี พระองค์แรกและพระองค์เดียว[1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีได้ถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1หม่อมเจ้าสง่างามทรงเป็นข้าราชการส่วนกลางมาตลอด 25 ปี มิเคยต้องไปประทับแรม ณ แห่งหนตำบลใด ทรงปฏิบัติงานเรียบร้อยเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยกระทั่งในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้น โดยให้รวมพื้นที่อำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอเจียรดับ และอำเภอหนองจอก ขึ้นเป็นจังหวัดมีนบุรี แล้วแต่งตั้งหม่อมเจ้าสง่างาม ข้าราชการชั้นเอกผู้รู้จักท้องถิ่นชานเมืองเป็นอย่างดีให้มาปกครองท้องที่แถบตะวันออกของกรุงเทพมหานครแห่งนี้ ท่านจึงเป็นเจ้าเมืองมีนบุรีองค์แรกและองค์เดียว ก่อนที่เมืองนี้จะถูกยุบรวมกับจังหวัดพระนครในปี 2474หม่อมเจ้าสง่างาม ในวัยที่พ้นจากราชการแล้วได้ประทับที่วังข้างวัดตรีทศเทพฯ โดยมีหม่อมแช่ม หม่อมมี หม่อมละม้าย (น้องสาวของหม่อมมี) หม่อมเยื้อน หม่อมเขียน และหม่อมพลู สตรีชาวมีนบุรี ซึ่งเป็นหม่อมคนสุดท้าย อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน บั้นปลายท่านได้ประชวรด้วยโรคภูมิแพ้ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อปี 2460 ด้วยชันษา 60 ปี ท่านมีโอรส ธิดาทั้งสิ้น 16 คน หม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 23 เมษายน พ.ศ. 2460 พระชันษา 60 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดตรีทศเทพ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2462[2]

หม่อมเจ้าสง่างาม_สุประดิษฐ์

ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
สิ้นชีพิตักษัย 23 เมษายน พ.ศ. 2460
พระมารดา หม่อมแช่ม สุประดิษฐ ณ อยุธยา
ฐานันดรศักดิ์ หม่อมเจ้า
พระบิดา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
ประสูติ พ.ศ. 2400

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล