หลวงปู่กงมา_จิรปุญฺโญ
หลวงปู่กงมา_จิรปุญฺโญ

หลวงปู่กงมา_จิรปุญฺโญ

หลวงปู่กงมา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบู่ และนางนวล วงศ์เครือสอน ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน มีนามเดิมว่า กงมา วงศ์เครือสอน ในช่วงชีวิตวัยหนุ่ม ท่านมีรูปร่างสัดทัด สูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิตแบบเอางานเอาการ ในสมัยหนึ่ง ท่านได้เป็นนายฮ้อยต้อนวัวควาย หมู เที่ยวขายตามจังหวัดใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อมาได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อยพาคณะนายฮ้อยต้อนสัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยเดินทางด้วยเท้าเปล่า ท่านเป็นคนมีน้ำใจต่อลูกน้อง และอาญหาญช่วยป้องกันอันตรายให้กับลูกน้อง เป็นคนมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และ มีความยุติธรรม [1] ต่อมาในช่วงชีวิตแห่งความสุข บิดามารดาของท่านได้ไปสู่ขอนางเลา และได้จัดพิธีแต่งงานขึ้นในปี พ.ศ. 2468 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2453 - 2468) จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2468 - 2477) ขณะมีอายุได้ 25 ปี จนกระทั่งในเวลาต่อมา ภรรยาและลูกในท้องได้เสียชีวิต ทำให้ท่านรู้สึกสูญสิ้น นี่เองเป็นเหตุให้ท่านนึกถึงพระพุทธศาสนา และตัดสินใจออกบวช โดยมีพระอาจารย์โท เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังบวชได้ไปจำพรรษาที่วัดบึงทวย กับพระมีซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน อยู่วัดนี้ได้ไม่นานด้วยความคิดว่าตนเองไม่ได้สิ่งที่ประสงค์ จึงได้เข้าไปปรึกษากับพระมี ซึ่งเป็นพระที่เคยธุดงค์ไปหลายแห่งในลาว พม่า และไทยมาแล้ว [2] พระมีเคยเล่าให้ฟังว่า เคยได้ยินชาวบ้านพูดถึงพระศีลวัตรปฏิบัติอันงดงามของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนหลวงปู่กงมาท่านก็เลื่อมใส [3] หลวงปู่กงมาจึงได้ชวนสหายของท่านคือพระภิกษุมีเดินทางไปถวายตัวเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และในปี พ.ศ. 2469 ได้รับตัวไว้อยู่จำพรรษากับท่านตั้งแต่นั้นมาใน ปี พ.ศ. 2470 ท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ได้ให้ลูกศิษย์ สองรูป คือ หลวงปู่กงมาฯ และท่านพ่อลี ได้ญัตติใหม่เป็นฝ่ายพระธรรมยุตนิกายที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีโดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญโญ) วัดสระปทุม จังหวัดพระนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 [4] หลวงปู่ท่านได้ถือคำสอนของ หลวงปู่มั่น เป็นหลัก เช่น ศีล 11 ประการ และยึดถือแนวปฏิบัติและสอนธรรมเป็นหลัก และสอนให้ลูกศิษย์ ประชาชน ให้รู้ถึงว่าชีวิตนั้นอาจไม่แน่นอน จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด และ ยึดถือหลักอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นต้น ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2505 [5]

ใกล้เคียง

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ หลวงปู่ทวด หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต