ประวัติ ของ หลวงพิสณฑ์ยุทธการ_(ปึก_โรจนกุล)

ด้านครอบครัว

หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) เมื่อเริ่มรับราชการทหารท่านมีบุตรปรากฏนามว่า ปลอบต่อมาบุตรเข้ารับราชการเป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ร่วมกับพระสุนทรโวหาร (ภู่) จางวางกรมพระอาลักษณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

ครั้นบิดารับราชการด้านการรักษาบ้านเมือง หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) จึงสนใจเอาเยี่ยงอย่างเช่นบิดาจึงรับราชการทหารบกตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงบั้นปลายของชีวิต

ด้านราชการ

เมื่อวันที่ 1 เดือน 8 อตราสาธ แรม 6 ค่ำปีชวดสัมฤทธิศก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จออกขุนนาง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ให้นายปึกเลื่อนยศเป็นพันพิสณฑ์ยุทธการ กรมทหารบก

ต่อมาได้รับความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในปีปีรกาสัปตศกให้พันพิสณฑ์ยุทธการเป็นหลวงอัคนีศรีพลารักษ์ (ปึก) ย้ายมาประจำกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ให้ถือศักดินา 1000 ตั้งแต่ ณ วันอังคาร เดือนสิบ แรม 13 ค่ำ ปีรกาสัปตศก หลังจากที่ได้รับราชการที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาจึงได้เลื่อนยศเป็นขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก)[3] [4] [5] โดยย้ายเข้ากรมทหารบกตามเดิมและใช้บรรดาศักดิ์ ขุนพิสณฑ์ยุทธการ ตามกรมเดิมที่เข้ารับราชการมาก่อน

เมื่อ พ.ศ. 2322 อาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 อาณาจักรแล้วสูญเสียเอกราชตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม ประกอบด้วยเมืองขึ้นต่างๆ ของหัวเมืองลาวกาวเช่น เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองขุขันธ์ เมืองกมลาสัย เมืองอุบลราชธานี เมืองศรีสะเกษ เมืองภูแล่นช้าง เมืองกาฬสินธุ์ เมืองเขมราฐ เมืองยโสธร เมืองสุวรรณภูมิ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองมหาสารคาม เป็นต้น

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตรัสสั่งให้พระยาจ่าแสนบดี กรมมหาดไทย จัดข้าราชการทหารเพื่อออกไปรักษาการหัวเมืองลาวกาว พระยาจ่าแสนบดีจึงนำข้าราชการทหารรวมทั้งสิ้น 47 นาย พร้อมกำลังทหารรวม 6 กองร้อย เข้าเฝ้าถวายบังคมลาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) เข้ากองพระพิเรนทรเทพ รักษาการเมืองนครจำปาศักดิ์ หัวเมืองลาวกาวเป็นต้นมาจนได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) (เป็นยศบรรดาศักดิ์สุดท้ายที่ได้รับ) ให้ถือศักดินา 2000 [6] ภายหลังจึงได้ถูกปลดเป็นทหารกองหนุน กรมทหารบกเนื่องจากรับราชการครบวาระ จึงกลับมาใช้ชีวิตที่พระนคร กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อสถานการณ์หัวเมืองลาวกาวปกติดีแล้ว หัวเมืองลาวกาวจึงมีข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มาประจำหัวเมืองลาวกาวเป็นพระองค์แรก

การสืบสกุล

หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) เป็นผู้ได้รับการสืบทอดสกุลโรจนกุลพร้อมกับหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล) บุตรของตน [7] ตามประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 5 [8] ในฐานะข้าราชการเก่า กรมทหารบก

ใกล้เคียง

หลวงพระบาง หลวงพ่อศิลา หลวงพี่เท่ง หลวงพ่อเกษม เขมโก หลวงพ่อเงิน พุทฺธโชติ หลวงพ่อโต (บางพลี) หลวงพี่เท่ง 3 หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) หลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต