การทำงาน ของ หลวงวิจิตรวาทการ_(วิจิตร_วิจิตรวาทการ)

เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุ อยู่ในภิกขุภาวะได้เพียงเดือนเดียวก็ลาสิกขาออกมารับราชการที่กองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานอยู่เป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ท่านก็ได้มีโอกาสไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการ ประจำสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รับราชการที่สถานทูตแห่งนั้นได้ 6 ปีเต็ม แล้วได้ย้ายไปประจำการในสถานอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นสยามยังไม่มีสำนักงานตัวแทนทางการทูตระดับสถานเอกอัครราชทูตประจำอยู่ในยุโรป มีเพียงสถานอัครราชทูตเท่านั้น อีกทั้งเมื่อครั้งยังรับราชการอยู่ที่กรุงปารีส ถือว่าร่วมสมัยกับที่คณะราษฎรได้ก่อตัวขึ้นมา แต่ท่านมิได้ถูกเชิญเข้าร่วมด้วย ในภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านจึงก่อตั้ง "คณะชาติ" ขึ้นมาเพื่อหมายจะเปรียบกับคณะราษฎร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงยุติบทบาทไป[3]) หลังจากนั้นได้กลับมาทำงานที่ประเทศไทยอีก

ในชีวิตราชการ ท่านได้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมโฆษณาการ[4] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[5] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ที่น่าสังเกตคือ ท่านได้เป็น "ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี"[6] (เทียบเท่าปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในปัจจุบันนี้) เป็นคนแรก และคนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย ก่อนหน้าที่ท่านจะได้รับตำแหน่งนี้และหลังจากที่ท่านพ้นตำแหน่งไปแล้ว ไม่มีตำแหน่งปลัดบัญชาการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีแต่เพียงตำแหน่งที่เทียบเท่ากันในชื่ออื่น อีกทั้งยังเป็นการรับตำแหน่งในสมัยที่มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ดำรงตำแหน่งนายกฯได้มาจากการที่กระทำการรัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งที่ท่านมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่สนิทสนมและรับใช้จอมพล ป. มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์พร้อมคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 โดยใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า วิจิตร วิจิตรวาทการ เมื่อ พ.ศ. 2484[7]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบ ท่านถูกจับกุมและถูกไต่สวนในข้อหาอาชญากรรมสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ร่วมกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ภายหลัง ศาลไทยตัดสินว่ากฎหมาย (ในกรณีนี้คือ พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ซึ่งยกร่างขึ้นหลังจากสงครามสงบแล้ว) ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง ท่านจึงได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ

ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505

ใกล้เคียง

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค) หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) หลวงวิลาสวันวิท (เมธ รัตนประสิทธิ์) หลวงพร้อมวีระพันธ์ (พร้อม วีระพันธ์) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ หลวงปู่ทวด หลวงไก่

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลวงวิจิตรวาทการ_(วิจิตร_วิจิตรวาทการ) http://www.banramthai.com/html/lakhon11.html http://www.kingramamusic.org/history/p6.htm http://www.thaiwriter.org/writers/wijit_watakarn/w... http://www2.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.a... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2502/D/... https://www.prd.go.th/download/management.pdf