ประวัติ ของ หลวงวิโรจน์รัฐกิจ_(เปรื่อง_โรจนกุล)

ประวัติ

เดิมหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) อาศัยอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะได้ศึกษาต่อนั้นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้เข้าถวายรับราชการทหารบก กระทรวงกลาโหมตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) เป็นเสนาบดีกระทรวง จนกระทั่งได้รับพระราชทานนายทหารชั้นสัญญาบัตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นก่อนแพแตก พ.ศ. 2443 – พ.ศ. 2474 หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้เริ่มรับราชการด้านการปกครอง ซึ่งในขณะนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า ขุนวิโรจน์รัฐกิจ

ด้านราชการ

เมื่อ พ.ศ. 2467 ขุนวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ตำแหน่งนายอำเภอ จังหวัดลำพูน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ถือศักดินา 800 [4]

เมื่อ พ.ศ. 2472 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เริ่มรับราชการครั้งแรกดำรงตำแหน่งนายตำบลปากบ่อง (ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอป่าซาง) จ. ลำพูน ขณะรับราชการจึงได้ร่วมกับพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง และครูบาศรีวิชัย นักบุญจากล้านนา โดยเป็นประธานฝ่ายฆราวาสร่วมก่อสร้างพระวิหารจัตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้าจนสำเร็จ [5]

เมื่อ พ.ศ. 2473 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) รับราชการตำแหน่งนายตำบลครบวาระ 1 ปี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ในปีถัดมาจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง หัวเมืองชั้นจัตวา ถือศักดินา 1500 และโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศทหารเป็น รองอำมายต์เอกและศักดินายศทหารอีก 1000

เมื่อ พ.ศ. 2474 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) เป็นเจ้าเมืองอ่างทอง จนครบวาระ 4 ปี

เมื่อ พ.ศ. 2479 ได้เป็นเจ้าเมืองแพร่ [6] วาระ 2 ปี ผลงานความดีความชอบครั้งนั้นหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7] [8] นายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างห้องพระภายในศาลากลางจังหวัดแพร่ และยังได้สร้างทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ที่ห้องเทพวงศ์ ซึ่งหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง) ปรากฏลำดับที่ 13 บนทำเนียบดังกล่าว

เมื่อ พ.ศ. 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2481 รับราชการเป็นเจ้าเมืองนครนายก [9] จนครบวาระถึงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

ใกล้เคียง

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค) หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) หลวงวิลาสวันวิท (เมธ รัตนประสิทธิ์) หลวงพร้อมวีระพันธ์ (พร้อม วีระพันธ์) หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) หลวงไก่