หลักการดาล็องแบร์

หลักการดาล็องแบร์ (อังกฤษ: D'Alembert's principle) หรือหลักการลากรองจ์–ดาล็องแบร์ (อังกฤษ: Lagrange–d'Alembert principle) เป็นประพจน์ของกฎการเคลื่อนที่คลาสสิกมูลฐาน ได้ชื่อตามผู้ค้นพบ ฌ็อง เลอ รง ดาล็องแบร์ นักคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เป็นวรรณกรรมคล้ายคลึงพลวัติของหลักการงานเสมือนสำหรับแรงที่กระทำในระบบสถิต และมีความเป็นสากลกว่าหลักการแฮมิลตัน (Hamilton's principle) ที่เลี่ยงการจำกัดระบบโฮโลโนมิค (holonomic system)[1] เงื่อนไขบังคับโฮโลโนมิคขึ้นอยู่กับพิกัดและเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วหลักการนี้ระบุว่า ผลรวมของผลต่างระหว่างแรงที่กระทำต่อระบบอนุภาคมวลกับอนุพันธ์เวลาของโมเมนตัมของระบบเองที่ฉาย (project) ไปบนการกระจัดเสมือนใด ๆ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขบังคับของระบบเป็นศูนย์ สัญลักษณ์ในหลักการดาล็องแบร์เขียนได้ดังนี้โดยที่

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี