ชื่อของดาวฤกษ์ ของ หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์

ดูบทความหลักที่: การตั้งชื่อดาวฤกษ์

ตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลแล้ว ดาวฤกษ์ไม่มีชื่อเฉพาะ นอกเหนือไปจากดาวฤกษ์สว่างเพียงไม่กี่ดวงที่มีชื่อเฉพาะมาแต่ยุคโบราณ ถ้าดาวฤกษ์นั้นมีชื่อเฉพาะมาแต่เดิม ชื่อเหล่านั้นจะนำมาจากภาษาอารบิก ซึ่งเป็นที่มาตั้งแต่ยุคบุกเบิกการศึกษาดาราศาสตร์

ดาวฤกษ์ที่สว่างจนสามารถมองเห็นได้ตาเปล่าบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นมีเพียงไม่กี่พันดวง ดังนั้นจำนวนชื่อเฉพาะของดาวฤกษ์ที่มีมาแต่วัฒนธรรมโบราณจึงมีจำนวนจำกัด เพียงสูงสุดที่ไม่เกิน 1 หมื่นดวงเท่านั้น

ประมาณการว่า จำนวนดาวฤกษ์ที่มีชื่อเฉพาะมีจำนวนอยู่ระหว่าง 300-350 ดวง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดหรือเป็นดาวฤกษ์ที่รวมกลุ่มกันเป็นรูปร่างกลุ่มดาว จำนวนชื่อของดาวนั้นมีมากกว่าจำนวนดาวที่มีชื่อ เพราะวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอาจกำหนดชื่อดาวที่ต่างกันสำหรับดาวดวงเดียวกันนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ดาวที่รู้จักกันว่า ดาวเหนือ มีชื่ออื่นที่แตกต่างไปตามสถานที่และยุคสมัยต่างๆ เช่น Alruccabah, Angel Stern, Cynosura, the Lodestar, Mismar, Navigatoria, Phoenice, the Pole Star, the Star of Arcady, Tramontana และ Yilduz

ด้วยความก้าวหน้าของการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ทำให้ดาวฤกษ์ที่เรามองเห็นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มากเสียจนไม่สามารถจะตั้งชื่อเฉพาะให้กับทุกดวงได้ จึงมีรหัสกำหนดในการเรียกขานดาวเหล่านั้นด้วยระบบการตั้งชื่อดาวฤกษ์หลายระบบ ระบบเก่าๆ อาจตั้งชื่อโดยไม่มีกฎเกณฑ์แน่ชัด หรือใช้ระบบตั้งชื่อแบบง่ายๆ เช่นเอาชื่อกลุ่มดาวผสมกับตัวอักษรกรีก การที่มีระบบการตั้งชื่อดาวฤกษ์หลายระบบทำให้ดาวบางดวงมีรหัสมากกว่า 1 ชื่อ ตัวอย่างเช่น ดาวที่มีชื่อภาษาอารบิกว่า ริจิล เคนเทารัส (Rigil Kentaurus) มีชื่อในระบบการตั้งชื่อของเบเยอร์ว่า อัลฟาเซนเทารี

เมื่อความสามารถของกล้องโทรทรรศน์เพิ่มสูงขึ้น มีวัตถุจำนวนมากที่แต่เดิมเคยคิดกันว่าเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงวัตถุเดียว กลับกลายเป็นระบบดาวหลายดวงซึ่งอยู่ใกล้กันมากจนไม่สามารถแยกแยะได้ด้วยตาเปล่า ปัญหานี้รวมกับปัญหาอื่นๆ ทำให้กลายเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยระบบการตั้งชื่อ ตัวอย่างเช่น ดาวริจิล เคนเทารัส ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 3 ดวงในระบบดาวสามดวง มีชื่อเรียกว่า ริจิล เคนเทารัส เอ, บี และซี ตามลำดับ

ระบบการตั้งชื่อดาวสมัยใหม่ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ประสิทธิภาพและความละเอียดสูง ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ได้จำนวนวัตถุทางดาราศาสตร์จำนวนมหาศาล ตัวอย่างเช่น Guide Star Catalog II ได้เพิ่มรายชื่อวัตถุทางดาราศาสตร์ที่แตกต่างกันจำนวนมากกว่า 998 ล้านชื่อ วัตถุในระบบรายชื่อนี้โดยมากจะต้องสังเกตด้วยกล้องที่มีความละเอียดสูงมาก และกำหนดรหัสให้แก่วัตถุเหล่านี้ตามตำแหน่งที่ปรากฏบนท้องฟ้า ตัวอย่างเช่น ชื่อรหัส SDSSp J153259.96-003944.1 ซึ่งอักษรขึ้นต้น SDSSp บ่งบอกที่มาว่ามาจาก "Sloan Digital Sky Survey preliminary objects" ตัวอักษรอื่นที่ตามหลังมาระบุพิกัดบนทรงกลมฟ้า

ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับโลกที่สุด คือดวงอาทิตย์ของเรา มักถูกเรียกขานกันโดยทั่วไปอย่างย่อว่า "ดวงอาทิตย์" (Sun หรือชื่ออื่นตามแต่ละภาษา เช่นภาษาฝรั่งเศสจะเรียกว่า le Soleil) แต่บางครั้งก็จะเรียกด้วยชื่อภาษาละตินว่า โซล (Sol)

ท้ายสุด ยังมีดาวอีกจำนวนหนึ่งที่ตั้งชื่อตามชื่อของบุคคล

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ http://curious.astro.cornell.edu/question.php?numb... http://www.astro.uiuc.edu/~kaler/sow/starname.html http://www.ss.astro.umd.edu/IAU/csbn/mp.shtml http://cdsweb.u-strasbg.fr/iau-spec.html http://cdsweb.u-strasbg.fr/viz-bin/Dic http://starchild.gsfc.nasa.gov/docs/StarChild/ques... http://www.iau.org/public_press/themes/naming/ http://www.minorplanetcenter.org/iau/info/OldDesDo... http://www.minorplanetcenter.org/iau/lists/CometRe...