หอดูดาวอาเรซิโบ
หอดูดาวอาเรซิโบ

หอดูดาวอาเรซิโบ

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°20′39″N 66°45′10″W / 18.34417°N 66.75278°W / 18.34417; -66.75278หอดูดาวอาเรซิโบ (สเปน: Observatorio de Arecibo; อังกฤษ: Arecibo Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอาเรซิโบทางตอนเหนือของปวยร์โตรีโก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ร่วมกับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation, NSF) ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้หน่วยงานที่ชื่อว่า "ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ" (National Astronomy and Ionosphere Center, NAIC)กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่นี่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 305 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา[1] โครงการก่อสร้างเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยศาสตราจารย์ วิลเลียมส์ อี. กอร์ดอน แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เพื่อที่จะใช้ศึกษาบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ของโลก แต่ได้ขยายขอบเขตของโครงการออกไป การก่อสร้างเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506[2]เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 หอดูดาวแห่งนี้ได้ส่งสัญญาณวิทยุขนาด 1,679 บิต (ประมาณ 205 ไบต์) ที่มีชื่อว่า "ข้อความอาเรซิโบ" ขึ้นสู่อวกาศไปยังกระจุกดาวเอ็ม 13 ที่อยู่ห่างจากโลก 25,000 ปีแสง[3] เป็นข้อมูลกราฟิกขนาด 23 คูณ 73 จุด ซึ่งออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก และคาร์ล เซแกน สื่อความหมายถึงระบบตัวเลข ธาตุเคมี ดีเอ็นเอ และระบบสุริยะ เป็นสัญลักษณ์ของก้าวสู่ยุคอวกาศของโลก และคาดหวังว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากนอกโลกได้รับสัญญาณนี้และส่งสัญญาณตอบมาในอนาคตหอดูดาวแห่งนี้มีการปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์มาตลอดอายุการใช้งาน ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2540 และใช้เป็นแหล่งข้อมูลของโครงการ SETI@home ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซิโบเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง Goldeneye (ชื่อไทย: พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก) ออกฉายใน พ.ศ. 2538 และเรื่อง Contact (ชื่อไทย: อุบัติการณ์สัมผัสห้วงเวลา) ออกฉายใน พ.ศ. 2540 และเป็นฉากหลังในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง 2010: Odyssey Two (ชื่อไทย: 2010 จอมจักรวาล) ของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (แต่ในการถ่ายทำภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนสถานที่เป็นเวรีลาร์จอาร์เรย์แทน)

ใกล้เคียง

หอดูดาวแห่งชาติ (ไทย) หอดูดาววัดสันเปาโล หอดูดาวอาเรซิโบ หอดูดาวแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา หอดูดาวหลวงเกรนิช หอดูดาวอินางาวะ หอดูดาวแห่งชาติ (จีน) หอดูดาวกริฟฟิท