ที่มาและเบื้องหลัง ของ หัวเกรียน

ระหว่างสงครามและหลังจากสงคราม “กลุ่มหัวเกรียน” เป็นคำที่เริ่มใช้ราวปลายปี ค.ศ. 1641 เมื่อมีการโต้กันในรัฐสภาเรื่องร่างพระราชบัญญัติยกเว้นบาทหลวง (Bishops Exclusion Bill) ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ห้ามไม่ให้บาทหลวงเป็นสมาชิกรัฐสภาที่ก่อให้เกิดความไม่สงบในเวสต์มินสเตอร์ กลุ่มเพียวริตันบางคนตัดเริ่มผมเกรียนเพื่อให้แยกตนเองจากอย่างชัดเจนผู้ชายในราชสำนักที่ไว้ผมยาวเป็นหลอด เจ้าหน้าที่คนหนึ่งพรรณาถึงผู้คนที่มาชุมนุมกันว่า:

“พวกเขาไว้ผมบนหัวพวกตน มีไม่กี่เส้นเท่านั้นที่ยาวเลยหูพวกตน ด้วยเหตุฉะนี้เราจึงเรียกพวกที่มานั่งตะโกนโหวกเหวกในเวสต์มินสเตอร์ด้วยฉายานามว่าพวกราวด์เฮด.”[2]

แต่ที่ขัดกันคือหลังจากที่อัครบาทหลวงวิลเลียม ลอดออกกฎให้นักบวชไว้ผมสั้นในปี ค.ศ. 1636 กลุ่มเพียวริตันก็หันกลับไปไว้ผมยาวตามเดิมและยิ่งยาวกว่าเดิมเพื่อเป็นการประท้วงระบบ[3] แต่ก็ยังรู้จักกันในชื่อ “กลุ่มหัวเกรียน” การไว้ผมยาวมักจะนิยมในกลุ่มอิสระทางศาสนา และ กลุ่มเพียวริตันที่มีตำแหน่งสูงที่รวมทั้งครอมเวลล์เองโดยเฉพาะในปลายสมัยรัฐบาลผู้พิทักษ์ ขณะที่กลุ่มเพรสไบทีเรียนและทหารยังคงต่อต้านการไว้ผมยาว ในปลายสมัยกลุ่มเพียวริตันอินดีเพ็นเดนท์ใช้คำว่า “กลุ่มหัวเกรียน” เป็นทำนองเหยียดกลุ่มเพรสไบทีเรียนเพียวริตัน[4]

นักประวัติศาสตร์จอห์น รัชเวิร์ธ (John Rushworth) ใน “Historical Collections” กล่าวว่าคำนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1641 โดยเจ้าหน้าที่ชื่อเดวิด ไฮด์ผู้ที่ระหว่างการจลาจลชักดาบออกมาแล้วตะโกนว่าจะ “เชือดคอไอ้หมาหัวเกรียนตัวไหนที่กล้าเห่ากระโชกบาทหลวง”

เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนที่ 1ที่ปรึกษาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 (“History of the Rebellion”, เล่ม 4. หน้า 121) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า: “ผู้ที่เห็นว่าเป็นผู้รับใช้พระเจ้าแผ่นดินถูกเรียกว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” และผู้ที่ต่อต้านเรียกว่า “กลุ่มหัวเกรียน””

ใกล้เคียง