หางล่าง

ในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์และการเขียนด้วยลายมือ หางล่าง (อังกฤษ: descender) คือส่วนของตัวอักษรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นฐานของไทป์เฟซตัวอย่างเช่น ในตัวอักษร y หางล่างคือ "หาง" หรือส่วนของเส้นทแยงซึ่งอยู่ใต้ v ที่เกิดจากเส้นสองเส้นมาบรรจบกัน ส่วนในตัวอักษร p หางล่างคือก้านที่ทอดยาวผ่าน ɒในฟอนต์อักษรละตินโดยส่วนใหญ่ เฉพาะตัวพิมพ์เล็ก เช่น g, j, q, p, y และบางครั้ง f จึงจะมีหางล่าง อย่างไรก็ตาม ฟอนต์บางตัวมีตัวเลขบางตัวที่มีหางล่างด้วย (โดยทั่วไปคือ 3, 4, 5, 7 และ 9) ตัวเลขดังกล่าวเรียกว่าตัวเลขแบบเก่า (ฟอนต์ตัวเอียงแท้บางตัว เช่น Computer Modern italic จะมีเลข 4 ที่มีหางล่าง แต่ไม่มีส่วนดังกล่าวในตัวเลขอื่น ๆ ฟอนต์ดังกล่าวไม่ถือเป็นแบบเก่า) ฟอนต์บางตัวยังมีตัวพิมพ์ใหญ่บางตัว เช่น J และ Q ที่มีหางล่างด้วย[1]ส่วนของอักขระที่ขยายเกินความสูงของตัวอักษรเอ็กซ์ ของฟอนต์นั้นเรียกว่าหางบน[2]ไทป์เฟซขนาดเล็กมักจะลดขนาดหางล่างลง เช่นในหนังสือพิมพ์ ไดเร็กทอรี หรือคัมภีร์ไบเบิลแบบพกพา เพื่อให้สามารถพิมพ์ข้อความบนแผ่นกระดาษได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2345 ฟิลิป รัชเชอร์ แห่งเมืองแบนบรี ได้จดสิทธิบัตรไทป์เฟซใหม่ โดยไทป์เฟซดังกล่าวตัดหางล่างออก และย่อหางบนให้สั้นลง[3] [4][5][6] ไทป์เฟซดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม และเลิกใช้ไปหลังปี พ.ศ. 2395[7][8] ไทป์เฟซแสดงผล Art Nouveau Hobo และไทป์เฟซพาดหัว Permanent Headline ซึ่งกำจัดหางล่างนั้นได้รับความนิยมค่อนข้างมากตั้งแต่นั้นมา[9]จอแสดงผลคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ บางจอ (เช่น Compukit UK101) และเครื่องพิมพ์ (เช่น Commodore 4022 [10]) มีข้อจำกัดในเรื่องระยะห่างในแนวตั้งของอักขระ ทำให้ไม่มีที่ว่างพอสำหรับการแสดงหางล่างอย่างถูกต้อง ตัวอักษรที่มีหางล่างจะถูกเลื่อนขึ้นตามแนวตั้งให้ส่วนล่างของตัวอักษรเสมอกับเส้นฐาน ระบบในปัจจุบัน อันไม่มีข้อจำกัดนี้ เคยถูกเรียกว่ารองรับ หางล่างที่แท้จริง (true descenders)

แหล่งที่มา

WikiPedia: หางล่าง http://usatoday30.usatoday.com/news/nation/2007-09... http://www.macworld.com/article/2033779/typography... https://books.google.com/books?id=bheS8CveebwC&pg=... https://books.google.com/books?id=s5Js_NPRflwC&pg=... https://books.google.com/books?id=A-GksvnNIkYC https://books.google.com/books?id=jYbNAAAAMAAJ https://www.smashingmagazine.com/2012/03/weird-and... http://luc.devroye.org/fonts-31543.html http://www.computinghistory.org.uk/det/4725/Commod...