การแทรกดันตัวขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่ง ของ หินแกรนิต

การดันตัวขึ้นมาและการจัดวางตัวปริมาตรขนาดใหญ่ของหินแกรนิตอยู่ทางด้านบนของเปลือกทวีปนั้นเป็นสิ่งที่มีการถกเถียงกันอย่างมากในหมู่บรรดานักธรณีวิทยาทั้งหลาย ยังไม่มีหลักฐานในภาคสนามที่จะเสนอกลไกใดๆได้ดีพอ ดังนั้นโดยหลักแล้วสมมุติฐานที่เสนอกันขึ้นมานั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการทดลองมีสมมุติฐานสองประการหลักๆเกี่ยวกับการแทรกดันตัวขึ้นมาของแมกมาผ่านชั้นเปลือกโลก คือ

  • Stoke Diaper
  • Fracture Propagation

ในบรรดากลไกทั้งสองนี้ Stokes Diaper เป็นที่นิยมใช้กันมาหลายปีในสภาพที่ปราศจากทางเลือกใดที่สมเหตุสมผลกว่า แนวคิดพื้นฐานคือว่าแมกมาจะถูกแทรกดันตัวขึ้นมาผ่านชั้นเปลือกโลกในลักษณะของมวลเดี่ยวๆด้วยการลอยตัว ขณะที่มันแทรกดันตัวขึ้นมานั้นมีการแผ่ความร้อนให้กับมวลหินข้างเคียงทำให้หินข้างเคียงมีลักษณะเป็นของไหลแล้วไหลไปรอบๆพลูโทน ปล่อยให้มันผ่านเข้าไปอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการสูญเสียความร้อนหลัก (Weinberg, 1994) มันดำเนินไปทั้งหมดในชั้นเปลือกโลกด้านล่างที่อุ่นและอ่อนนุ่มที่หินเกิดการเสียรูปได้โดยง่ายแต่ด้านบนของชั้นเปลือกโลกที่ห่างไกลขึ้นมานั้นเย็นกว่าและเปราะในสภาพที่หินไม่ได้เกิดการเสียรูปโดยง่ายนัก สำหรับแมกมาที่แทรกตัวขึ้นมาเป็นพลูโทนย่อมต้องใช้พลังงานอย่างมากในการให้ความร้อนกับหินข้างเคียง ดังนั้นก็จะเกิดการเย็นตัวและแข็งตัวก่อนที่จะถึงระดับตื้นของชั้นเปลือกโลก

ในปัจจุบันกลไกการแผ่ขยายของรอยแตกเป็นที่ยอมรับใช้กันในหมู่นักธรณีวิทยาอย่างกว้างขวาง ด้วยมันขจัดปัญหาอันใหญ่หลวงในเรื่องของการเคลื่อนที่ของมวลมหาศาลของแมกมาผ่านเข้าไปในชั้นเปลือกโลกที่เย็นและเปราะ แมกมาดันตัวขึ้นมาแทนที่ในช่องว่างเล็กๆไปตามไดค์ซึ่งเกิดตามระบบรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นใหม่หรือรอยเลื่อนที่มีอยู่ก่อนแล้วและรวมถึงเครือข่ายของแนวเฉือนที่มีพลัง (Clemens, 1998)[6] เมื่อท่อแคบๆเหล่านี้ถูกเปิดออกแมกมาด้านบนก็จะแข็งตัวและจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนป้องกันแมกมาที่แทรกดันตามขึ้นมาจากด้านล่าง

แมกมาแกรนิตต้องหาที่อยู่เพื่อตัวมันเองหรือแทรกดันเข้าไปในหินอื่นเพื่อที่จะเกิดการแทรกซอน และกลไลอีกหลากหลายที่ถูกเสนอขึ้นมาเพื่ออธิบายว่าแบโทลิธขนาดใหญ่แทรกเข้าไปอยู่ได้อย่างไร:

  • Stoping คือเมื่อแกรนิตทำให้หินข้างเคียงแตกร้าวและแทรกดันขึ้นไปขณะที่ก็ดึงเอาก้อนเปลือกโลกด้านบนออกไปด้วย
  • Assimilation คือเมื่อแกรนิตหลอมละลายหินเปิดช่องทางให้มันแทรกดันตัวขึ้นไปในชั้นเปลือกโลกและดึงเอาวัตถุที่อยู่ด้านบนไปตามช่องทางนี้
  • Inflation คือเมื่อมวลแกรนิตขยายตัวออกภายใต้ความกดดันและถูกฉีดเข้าไปในตำแหน่งของมัน

ในปัจจุบันนักธรณีวิทยาทั้งหลายยอมรับกันว่าการผสมผสานปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้สามารถถูกนำมาใช้อธิบายการแทรกซอนของแกรนิตได้ และไม่มีแกรนิตใดๆที่สามารถถูกอธิบายได้เสียทุกอย่างโดยกลไกหนึ่งๆอันใด