บริเวณที่พบหินแปรในประเทศไทย ของ หินแปร

มีการแนะนำว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรย้ายไปรวมกับบทความ ภูมิศาสตร์ไทย (อภิปราย)

พื้นที่ที่พบชนิดของหินแปรต่างๆ โดยมีการจัดแบ่งบริเวณตามลักษณะของชุดลักษณ์ของการแปรสภาพ และอายุการเกิดของหินบริเวณนั้น ๆ

แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่

ภาพแสดงบริเวณที่พบหินแปรในประเทศไทย

บริเวณ A

หินแปรอายุมากสุดช่วง Precambian-Ordovician พบอยู่ทางซีกด้านตะวันตกของประเทศไทย และบางส่วนของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หินเดิมเป็นหินชั้นที่มีการตกตะกอนต่อเนื่องกัน และถูกแปรสภาพเพียงครั้งเดียวแบบ Abukuma facies series (HT/LP) ส่วนใหญ่พบทั้ง พวก Amphibolite และ Greenschist facies มีการลำดับชันหินต่อเนื่องขึ้นไปชั้นหินแปร Amphibolite facies สิ้นสุดที่ตอนบนสุดของอายุ Precambian และเปลี่ยนเป็น greenschist facies พอดี

เมื่ออายุหินอยู่ในช่วงของ Paleozoic ตอนล่าง ชั้นหินประกอบด้วยชั้นหินหลัก 3-4 ประเภท ตอนล่างสุดของลำดับชั้นหิน คือ หินพาราไนส์ ซึ่งมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับ granite และ granorhyolite มักมี granite เรียงตัว pegmatite aplite และ migmatite สลับอยู่บ้างเล็กน้อย ตอนกลางของลำดับชั้นจะประกอบด้วย micaschist เป็นส่วนใหญ่ บางแห่งเป็น micaschist ทั้งหมด บางแห่งมี calc-silicate quartzite และquartzschist เข้ามาสลับปะปน ช่วงบนสุดจะเป็นลำดับชั้นของ calc-silicate และหินอ่อน บางช่วงอาจมี quartzite และquartzschistสลับอยู่บ้าง มีหิน granite แสดงการเรียงตัวของแร่เข้ามาแทรกปนอยู่หลายประเภท ซึ่งมีขนาดเม็ดแร่และส่วนประกอบต่างกัน

พอเปลี่ยนอายุของชั้นหินเป็น Lower Paleozoic เกรดของการแปรสภาพก็ลดระดับลงจาก Amphibolite facies เป็น Greenschist facies ชนิดของชั้นหินเปลี่ยนเป็น quartzite และmetalimestone สลับกันเป็นส่วนใหญ่ ต่อจากนั้นเกรดของการแปรสภาพค่อยๆลดลงจนเปลี่ยนเป็นหินชั้นธรรมดาในช่วงอายุ Sylirian-Devonian

บริเวณ B

Suture zone ระหว่าง Shan-Thai และ Indochina หินแปรในโซนนี้พบอยู่ตอนกลางของประเทศ ทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ประกอบด้วยหินแปรสภาพอย่างไพศาลหลายประเภท หลายอายุ ที่มีต้นกำเนิดจากหินภูเขาไฟอยู่มาก พบตั้งแต่หินแปร greenschist อายุ Sylurian-Devonian-Carboniferous หินแปร Blueschist ถูกแปรสภาพซ้อนทับเปลี่ยนเป็นหินแปรแบบ greenschist ของ Barrovian อายุCarboniferous-Devonian และหินแปร Dinamic อายุ Sylurian-Devonian นอกจากหินแปร Dinamicซึ่งมีการเกิดมาจากกระบวนการบดและเสียดสีกันระหว่างชั้นหิน หินแปรอื่นๆใน zone นี้ก็มักแสดงลักษณะเฉพาะ คือ การถูกบดให้เห็นอย่างแพร่หลาย และหินแปรที่พบในส่วนตะวันตกสุดของอนุทวีปอินโดไชน่า แสดงลักษณะของหินชิ้นภูเขาไฟประเภทMafic-Intermediate หินแปรในโซนนี้มีอายุอ่อนสุดอยู่ในช่วงไทรแอสสิค (Salyapongseand Fontaine, 2000) พบที่จังหวัดอุทัยธานี

บริเวณ C

พบหินแปรสภาพอย่างไพศาลประเภท Unclassified Greenschist และมีอายุไม่อ่อนกว่ายุคไซลูเรียน ซึ่งพบในเขตจังหวัดเลย