หีบศพ
หีบศพ

หีบศพ

หีบศพ หรือ โลง หรือ โลงศพ คือ ที่สำหรับบรรจุศพ หรือร่างผู้เสียชีวิต โดยให้ศพนอนราบอยู่ภายใน และมีฝาครอบมิดชิด ก่อนที่จะนำไปบำเพ็ญพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป โดยทั่วไปแล้ว โลงศพมักจะทำด้วยไม้ เป็นรูปคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม มีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้าง ลักษณะของโลงศพแตกต่างกันไปตามความนิยม หรือธรรมเนียมการทำศพในแต่ละศาสนาโลงศพของชาวพุทธในประเทศไทย เดิมนิยมใช้ไม้กระดาน กว้างพอดีสำหรับแต่ละด้าน แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ไม้อัดมาเลือยตัดเป็นแผ่นประกอบโลง ภายนอกอาจใช้โลงที่มีลวดลายครอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อความสวยงาม แต่เมื่อจะนำไปเผาหรือฝัง ก็จะถอดโลงชั้นนอกออกหีบศพบรรดาศักดิ์(ประเทศไทย) พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบศพพระราชทาน สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้- หีบทองทึบ สำหรับ หม่อมเจ้าที่ไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ไม่ถึงชั้นสายสะพาย (พระราชทานฉัตรเบญจาประกอบเกียรติยศเพิ่ม) , เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอม , พระราชาคณะ(ชั้นเทพ ,ราช และ สามัญ) - หีบทองลายสลัก สำหรับ ขุนนาง(ชั้น พระ - พระยาโต๊ะทอง) , ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก และ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ , ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ(พระราชทานฉัตรเบญจาประกอบเกียรติยศเพิ่ม) , บิดามารดาของผู้ดำรงตำแหน่ง (นายกรัฐมนตรี , ประธานองคมนตรี , องคมนตรี , ประธานรัฐสภา , ประธานวุฒิสภา , ประธานสภาผู้แทนราษฎร , ประธานศาลฎีกา และ รัฐมนตรี ต้องถึงแก่กรรมขณะบุตร-บุตรีดำรงตำแหน่ง) (พระราชทานฉัตรเบญจาเป็นเกียรติยศเพิ่ม)- หีบกุดั่น สำหรับ ขุนนาง(ชั้น พระ ที่มีเชื้อสายจีน) , ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า- หีบลายก้านแย่ง สำหรับ ขุนนาง(ชั้น หลวง) , ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุราภรณ์มงกุฎไทย จัตุราภรณ์ช้างเผือก จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ ตติยดิเรกคุณาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย และ ตริตาภรณ์ช้างเผือก- หีบเชิงชาย สำหรับ ขุนนาง(ชั้น ขุน) , ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก , พระครูสัญญาบัตร และพระเปรียญธรรม 9 ประโยค