ห้องอักษรจีน
ห้องอักษรจีน

ห้องอักษรจีน

ศัพท์ปัญญาประดิษฐ์ข้อคิดเห็นว่าด้วยห้องอักษรจีน (อังกฤษ: the Chinese room argument) เสนอว่า ไม่ว่าจะออกแบบโปรแกรมให้ซับซ้อนเพียงใด ก็ไม่สามารถสร้าง "จิต" (mind) "เจตจำนง" (intentionality) หรือ "ความตื่นรู้" (consciousness) ให้เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะสามารถตอบสนองได้เหมือนมนุษย์มาก หรือตอบสนองได้ด้วยลักษณะที่ดูมีความฉลาดอย่างมากเพียงใดก็ตาม ข้อถกเถียงนี้ได้รับการเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชื่อ John Searle ในบทความเรื่อง "Minds, Brains, and Programs" ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Behavioral and Brain Sciences เมื่อ ค.ศ. 1980 ซึ่งต่อมาได้รับการวิเคราะห์ต่อยอดอย่างกว้างขวาง ใจความสำคัญของข้อถกเถียงนี้คือการทดลองทางความคิดที่เป็นที่รู้จักในชื่อ ห้องอักษรจีน (อังกฤษ: the Chinese room)[1]ข้อถกเถียงนี้มุ่งเป้าเพื่อต่อต้านมุมมองแบบ functionalism และ computationalism ของปรัชญาว่าด้วยจิต ซึ่งมองว่าจิตนั้นแท้จริงก็คือระบบที่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้จากสัญลักษณ์ และโดยเฉพาะยิ่งกว่านั้นคือเป็นการต่อต้านการมีอยู่ของสิ่งที่ Searle เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (strong AI)

ใกล้เคียง

ห้องอำพัน ห้องอยู่อาศัย ห้องอักษรจีน ห้องอนาคต ห้องอาหาร ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ ห้องเรียนจารชน ห้องราฟาเอล ห้องเช่าป่วนก๊วนคนแปลก!?