พยัญชนะต้น ของ อ

เมื่อเป็นพยัญชนะต้น “อ” จะถูกใช้เป็นทุ่นเกาะสำหรับสระ เช่น อาหาร, อีก อุ่น ฯลฯ ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ เป็นพยัญชนะ ที่ประสมด้วย สระ (ในที่นี้ คือ สระอา และสระอี ตามลำดับ)

ในตำแหน่งพยัญชนะต้น เสียง อ ที่เป็นพยัญชนะหยุด อาจหายไป เหลือแต่เสียงสระ ก็ได้ นั่นคือ /ʔa:-ha:n/ เ /a:-ha:n/ ซึ่งในตัวอย่างที่ยกมาจะสังเกตได้ยาก แต่จะเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีพยางค์อื่นนำหน้าเสียง อ เช่น “คุณอา” (/khun-ʔa:/ ไม่ใช่ /khuna:/) เสียงพยัญชนะ “น” ของพยางค์หน้า ไม่ถูกกลมกลืนเสียง (assimilate) ด้วยสระอา ในพยางค์หลัง เพราะมีเสียง “อ” คั่นอยู่ แต่ในภาษาอื่น อาจกลืนเสียงเป็น “คุณนา” ได้ เช่น ในคำว่า บางปะอิน เมื่อเขียนด้วยอักษรโรมันจึงมักจะมีขีดแยกคำ Bang Pa-in เพื่อไม่ให้เสียง อะ กับ อิ กลมกลืนเป็นสระประสมตามลักษณะการประสมคำในภาษาอื่นที่เขียนด้วยอักษรโรมัน

ใกล้เคียง

อสมท อาณาจักรอยุธยา องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย อำเภอพระประแดง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อาลิง โฮลัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ