ประวัติ ของ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย

เมื่อปี ค.ศ. 1952 คณะโอเอ็มเอฟ (OMF International) ได้เข้ามาประกาศพระกิตติคุณในประเทศไทย ใน 8 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี, ชัยนาท, นครสวรรค์, พิจิตร, อ่างทอง, สิงห์บุรี และลพบุรี จากนั้นได้ขยายไปที่ภาคเหนือ ประกาศกับพี่น้องชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ม้ง, อิ้วเมี่ยน, อาข่า, กะเหรี่ยง, ลีซู, ลาฮู และไทใหญ่

และในปี ค.ศ. 1953 ได้เริ่มประกาศใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา, ยะลา, ปัตตานี และนราธิวาส เวลาต่อมา ในปี ค.ศ. 1966 จึงได้เริ่มประกาศในกรุงเทพมหานคร มีคริสตจักรเริ่มเกิดขึ้นในหลายที่หลายแห่ง คณะโอเอ็มเอฟ จึงมีความปรารถนาที่จะเห็นคริสตจักรเหล่านี้รับผิดชอบ ตัดสินใจ ดูแลกันเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คริสตจักรในแต่ละภาคดังกล่าวข้างต้น จึงได้รวมตัวกันขึ้นเป็นคริสตจักรสัมพันธ์ภาค และเมื่อแข็งแรงขึ้นก็ได้แบ่งการบริหารออกเป็นเขต ๆ ตามความเหมาะสม และสะดวกในการบริหารงานในด้านต่าง ๆ

เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1980 คริสตจักรสัมพันธ์แต่ละภาค มีความปรารถนาที่จะมีการสัมพันธ์กับภาคอื่น ๆ ด้วย จึงได้ส่งตัวแทนไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน และเมื่อได้ทำการปรึกษาหารือกัน ในระยะเวลาอันพอสมควรแล้ว จึงได้มีการตกลงร่วมกัน ที่จะมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเป็น “คริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย” ขึ้น ในปี ค.ศ. 1983 ต่อมา จึงขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ประเภทสมาชิกองค์การภายในประเทศ เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1986 โดยใช้ชื่อว่า องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย

ในปัจจุบัน องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย มีคริสตจักรทั้งหมด 250 แห่ง แบ่งออกเป็น 13 ภาค สถานประกาศทั้งหมด 21 แห่ง มีหน่วยงานและสถาบันอีก 27 แห่ง

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์