ประวัติ ของ องค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ

อินมาแซท

องค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Satellite Organization: INMARSAT) ก่อตั้งขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (Convention on the International Maritime Satellite Organization) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2519 ที่ลอนดอน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[2] ในการประสานงานระหว่างองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 อนุสัญญาว่าด้วย INMARSAT ได้รับการแก้ไขให้รวมไปถึงการใช้งานวิทยุการบินโดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ[3]

ผู้อำนวยการใหญ่คนแรกได้รับการแต่งตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523[4] คือ โอลอฟ ลันด์เบิร์ก และเริ่มปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2525[5] ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้บริหารและผู้พัฒนาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการเฉพาะทางที่สวิดิชเทเลคอม (ปัจจุบันคือเทเลีย) และเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทั่วไปและซีอีโอจนถึงปี พ.ศ. 2538[6]

IMSO

ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรัฐสมาชิกเกี่ยวกับอนาคตของหน่วยงาน มีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นในหมู่ประเทศสมาชิกว่าสินทรัพย์ทางธุรกิจขององค์การจะต้องได้รับการแปรรูป เนื่องจากลักษณะการแข่งขันของอุตสาหกรรมการสื่อสารผ่านดาวเทียม และความไม่เต็มใจของรัฐสมาชิกจำนวนมากในการลงทุนเงินใน NIMARSAT เพื่อปรับปรุงระบบโครงข่าย ยังมีอีกหลายคนที่เชื่อมั่นในความสำคัญของการรักษาบทบาทขององค์การในการสื่อสารผ่านดาวเทียมทางทะเล โดยปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ส่งผลให้เกิดการแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยองค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (Convention on the International Mobile Satellite Organization) ซึ่งสินทรัพย์ในการดำเนินงานจะถูกแบ่งและแปรรูปองค์การเป็นเอกชน ในขณะที่หน่วยงานจะยังคงเป็นองค์การกำกับดูแลต่อไป[7]

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2542 INMARSAT ได้กลายเป็นองค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ (IMSO)[3] โดยขณะนั้นสินทรัพย์ในการดำเนินงานของ INMARSAT ได้ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทอินมาแซท ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนในสหราชอาณาจักร ซึ่งยินยอมตกลงจะดำเนินการภาระหน้าที่ด้านความปลอดภัยสาธารณะที่อยู่ภายใต้การดูแลของ IMSO ต่อไป[3]

ข้อตกลงระหว่างองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ IMSO ได้ลงนามกันที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2543 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ICAO และ IMSO[3] โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 อินมาแซทมีรัฐภาคีจำนวนทั้งสิ้น 103 แห่ง[8]

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การความร่วมมืออิสลาม องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: องค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ https://www.mfa.go.th/th/document-category/%E0%B9%... http://www.oosa.unvienna.org/pdf/limited/c2/AC105_... https://ghostarchive.org/archive/20221009/http://w... https://web.archive.org/web/20110607182144/http://... http://www.icao.int/ICDB/HTML/English/Representati... https://books.google.com/books?id=m9sGhgZbmd8C&q=f... https://web.archive.org/web/20230225221423/https:/... http://www.spaceref.com/news/viewpr.html?pid=4853 https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1999ESASP.442..1... http://www.imso.org/public/MemberStates