ประวัติ ของ องค์การสวนยาง

กิจการสวนยางในประเทศไทย เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้พระยาอนุวัติวนรักษ์ หัวหน้ากองการยาง กรมป่าไม้ เพื่อซื้อที่ดินสวนยาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช[2] หวงห้ามที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อการเกษตร รวมเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2485 ถึงปี พ.ศ. 2490 กิจการสวนยางดังกล่าวอยู่ในความดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และโอนไปรวมกับบริษัท แร่และยาง จำกัด ในปี พ.ศ. 2490 แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการบริษัท แร่และยาง จำกัด ก็ต้องเลิกกิจการไปเสียก่อน จึงต้องโอนกลับมาสังกัดองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เช่นเดิม

ในปี พ.ศ. 2491 กรมสวัสดิการทหารบก ได้เข้ามาศึกษาดูกิจการสวนยาง แต่ก็ไม่ได้มีการเข้ามาดำเนินการแต่อย่างใด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยกฐานะกิจการสวนยางขึ้นเป็น "องค์การสวนยางนาบอน" สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตยางแผ่นรมควัน น้ำยางสดจำหน่าย และดำเนินการค้นคว้าทดลอง ฝึกอบรมเกษตรกรไทยในการผลิตยาง ด้วยเงินทุนจากกระทรวงการคลัง จำนวน 3.4 ล้านบาท

กระทั่งในปี พ.ศ. 2504 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504[3] กำหนดให้องค์การสวนยางเป็นนิติบุคคล

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ได้ยุบรวมกับหน่วยงานอื่นอีกสองหน่วยงานเป็น การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558[4]

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย