ประวัติ ของ อนันต์_กลินทะ

พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะอดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ณ บ้านที่ตำบล รองเมือง อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร

สมรสกับนางสุรภีร์ กลินทะ (เสถียรศรี) มีบุตรและธิดาดังนี้

๑. นายนนท์ กลินทะ (บุตร น.ต.หญิง รัชนี กลินทะ (ประทีปเสน) ถึงแก่กรรม)ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

๒. นางชญาดา สิรินุกุลข้าราชการ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

๓. นางสาวอภิสรา กลินทะเจ้าหน้าที่บริหาร ๗ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

๔. นายภัทรพล กลินทะเจ้าหน้าที่ของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


วุฒิการศึกษาก่อนเข้ารับราชการ

พ.ศ. ๒๔๙๒ ​ชั้นมัธยมจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๔ ​ชั้นเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ ๑๓

พ.ศ. ๒๔๙๕ ​ชั้นอุดมศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ รุ่นที่ ๕วุฒิการศึกษาเมื่อเข้ารับราชการ

พ.ศ. ๒๔๙๖ ​โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่น ๑

พ.ศ. ๒๔๙๘ ​โรงเรียนนายเรืออากาศ กองทัพอากาศอังกฤษ(Royal Air Force Academy, Cranwell)

พ.ศ. ๒๕๐๑ ​โรงเรียนนายร้อย กองทัพบกอังกฤษ (Royal Military Academy Sandhurt)

พ.ศ. ๒๕๐๒ ​เป็นศิษย์การบิน ร.ร.การบิน กองทัพอากาศ รุ่น น.๒๖

พ.ศ. ๒๕๐๕ ​ศึกษาที่สหรัฐอเมริกา หลักสูตร (USAF Language Training Weapon Controller Foreign, Combat Operation Specialist Course Keesler AFB, USA)

พ.ศ. ๒๕๑๑ ​โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๑๘

พ.ศ. ๒๕๑๒ ​โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา(Squadron Officer School, Maxwell AFB, USA)

พ.ศ. ๒๕๑๓ ​โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๑๕

พ.ศ. ๒๕๒๕ ​วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ ๑๗

พ.ศ. ๒๕๒๘ ​วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๒๘


ตำแหน่งและตำแหน่งที่สำคัญในอดีต

พ.ศ. ๒๕๐๓ ​เป็นนักบินประจำกอง กองบิน ๒ ฝูงบิน ๒๒

พ.ศ. ๒๕๐๔ ​เป็นนักบินประจำกอง กองบิน ๖ ฝูงบิน ๖๓

พ.ศ. ๒๕๐๖ ​เป็นครูการบิน ฝูงฝึกขั้นต้น โรงเรียนการบิน

พ.ศ. ๒๕๐๘ ​เป็นครูการบิน ซึ่งทำการบินกับเครื่องบินไอพ่น

พ.ศ. ๒๕๑๘ ​เป็นผู้บังคับฐานบินนครพนม

พ.ศ. ๒๕๑๙ ​เป็นรองผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผน กรมยุทธการทหารอากาศ

พ.ศ. ๒๕๒๒ ​เป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทย ประจำกรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย

พ.ศ. ๒๕๒๕ ​เป็นรองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ

พ.ศ. ๒๕๒๖ ​เป็นเสนาธิการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

พ.ศ. ๒๕๒๙ ​เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธการ

พ.ศ. ๒๕๓๑ ​เป็นรองปลัดกระทรงกลาโหม

พ.ศ. ๒๕๓๒ ​เป็นเสนาธิการทหารอากาศ

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​เป็นรองผู้บัญชาการทหารอากาศ


ตำแหน่งทางการเมือง

พ.ศ. ๒๕๓๐ ​เป็นสมาชิกวุฒิสภา

พ.ศ. ๒๕๓๓ ​เป็นคณะกรรมการวิสามัญ ศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี ๒๕๓๓

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

พ.ศ. ๒๕๓๕ ​เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

พ.ศ. ๒๕๓๕ ​เป็นสมาชิกวุฒิสภา วาระที่ ๒ และเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม


ตำแหน่งหน้าที่ราชการพิเศษ

พ.ศ. ๒๕๒๖ ​ราชองครักษ์เวร

พ.ศ. ๒๕๓๒ ​ราชองครักษ์พิเศษ

พ.ศ. ๒๕๒๙ ​เป็นผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการ การบินเกษตร

พ.ศ. ๒๕๓๓ ​ตุลาการศาลทหารสูงสุด

พ.ศ. ๒๕๓๕ ​ตุลาการศาลทหารสูงสุด

พ.ศ. ๒๕๓๓ ​เป็นผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​เป็นรองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการวางแผนระยะยาวบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​ประธานกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​เป็นผู้แทน ทอ. ในคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​เป็นผู้แทน ทอ. ในคณะอนุกรรมการวางแผนระยะยาวบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. ๒๕๓๔ ​ประธานกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๓๕ ​นายกสมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. ๒๕๓๖ ​นายกสมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๐๔ ​เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๐๗ ​เบญจมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๐๙ ​จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๑๒ ​จตุรถาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๑๗ ​ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๒๐ ​ตริตาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๒๓ ​ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย

พ.ศ. ๒๕๒๕​ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. ๒๕๓๐ ​ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

พ.ศ. ๒๕๓๐ ​ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

พ.ศ. ๒๕๓๑ ​มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม)

พ.ศ. ๒๕๓๒ ​มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)


เหรียญอิสริยาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๑๑ ​เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี)

พ.ศ. ๒๕๒๓ ​เหรียญราชการชายแดน

พ.ศ. ๒๕๒๘ ​เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ ประเภทที่ ๑


ยศทหาร

พ.ศ. ๒๕๐๓ ​เรืออากาศตรี

พ.ศ. ๒๕๐๔ ​เรืออากาศโท

พ.ศ. ๒๕๐๗ ​เรืออากาศเอก

พ.ศ. ๒๕๑๑ ​นาวาอากาศตรี

พ.ศ. ๒๕๑๖ ​นาวาอากาศโท

พ.ศ. ๒๕๑๙ ​นาวาอากาศเอก

พ.ศ. ๒๕๒๒ ​นาวาอากาศเอก (พิเศษ)

พ.ศ. ๒๕๒๖ ​พลอากาศตรี

พ.ศ. ๒๕๒๙ ​พลอากาศโท

พ.ศ. ๒๕๓๑ ​พลอากาศเอก (อัตราจอมพล)


ราชการสงคราม

พ.ศ. ๒๕๐๙​เป็นนักบินประจำหน่วยบินลำเลียง ซึ่งปฏิบัติการรบร่วมกับสหประชาชาติในกรณีสงครามเกาหลี รุ่นที่ ๑๕ ผลัดที่ ๒

พ.ศ. ๒๕๑๖ ​เป็นนายทหารยุทธการ เครื่องบินขับไล่ ปฏิบัติการรบร่วมในสาธารณรัฐกัมพูชา

พ.ศ. ๒๕๒๙ ​เป็นที่ปรึกษา ประจำกองบัญชาการยุทธการด้านบูรพา


พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ เคยรับราชการเป็นทหารประจำกองทัพอากาศไทย เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

ในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[2] ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งในครั้งนั้นด้วย ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[4] และเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปีเดียวกัน[5]