ผลงาน ของ อภิวัฒน์_มุทิรางกูร

ผลงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มีผลงานวิจัยจำนวนมาก ที่สำคัญคือ ๑)การค้นพบดีเอนเอของไวรัสไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก(1) ในปัจจุบันใช้การวัดปริมาณ EBV DNA ในน้ำเหลืองเพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก

๒)ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำเพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์(2-8) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกัน ตรวจกรอง วินิจฉัยและรักษา มะเร็งและความชราในอนาคต

๓)ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส(9-13) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการตรวจกรองและวินิจฉัยมะเร็งในอนาคต

๔)ค้นพบรอยฉีกขาดของดีเอนเอที่ดี(14-17) ที่อาจมีประโยชน์ป้องกันความไม่เสถียรของจีโนม ความชราและมะเร็ง น่าจะทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งและความชราในอนาคต

ในปี ปี พ.ศ ๒๕๔๑ คณะผู้วิจัยได้รายงาน การค้นพบ ดีเอนเอของเชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) หรือ EBVDNA ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาการตรวจติดตามผลการรักษา โดยที่ EBVDNA จะหายหมดไปหากไม่มีเนื้อมะเร็งโพรงหลังจมูกหลงเหลือ และหากพบมี EBVDNA ในน้ำเหลืองแสดงว่ามีการกลับเป็นซ้ำเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกประมาณ ๖แสนคนทั่วโลก ได้ประโยชน์จากการตรวจหา EBVDNA ในน้ำเหลือง

ตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยเริ่มรายงานค้นพบการเปลื่ยนแปลงสภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำในเซลล์มะเร็ง ในผู้ชรา และในโรคอื่นๆ เช่น กระดูกผุ โรค SLE หรือรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง การศึกษาต่อเนื่องทำให้รู้กลไกและบทบาทที่ส่งผลต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรค ทั้งจาก ความไม่เสถียรของจีโนมและการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันคณะผู้วิจัย กำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้เกี่ยวกับ สภาวะเหนือพันธุกรรมของสายดีเอ็นเอเบสซ้ำ มาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็ง ป้องกันความพิการจากความชรา และการตรวจกรองมะเร็งที่พบบ่อย

นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเป็นผู้ค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส และกำลังกำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้นี้ไปใช้วินิจฉัยและการตรวจกรองมะเร็งในอนาคต

ในปี พ.ศ ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยรายงานการค้นพบรอยฉีกขาดของดีเอนเอที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน รอยฉีกขาดของดีเอนเอที่รู้จักกันจะทำให้เซลล์ตายหรือกลายพันธุ์ แต่รอยฉีกขาดที่ค้นพบกลับน่าจะมีประโยชน์ต่อเซลล์ทำให้จีโนมเสถียร ไม่แก่และไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นการเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลที่รอยฉีกขาดนี้อาจนำไปสู่การป้องกันการแก่และมะเร็งในอนาคตศาสตราจารย์นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ได้รับรางวัลในด้านการวิจัยสูงสุด คือ

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ใกล้เคียง

อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ อภิวันท์ วิริยะชัย อภิวัฒน์ งั่วลำหิน อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อภิวัฒน์ เงินหมื่น อภิวัฒน์ เพ็งประโคน อภิวัฒน์ พิริยไชโย การอภิวัฒน์สยาม อภิรัชต์ คงสมพงษ์