เนื้อหา ของ อมรโกศ

อมรโกศประกอบด้วยบทร้อยกรองที่แต่งขึ้นเพื่อให้จำได้ง่าย แบ่งเป็น 3 กัณฑ์

  • กัณฑ์แรกเรียกว่า "สวรรคาทิ" (ศัพท์ "สวรรค์" และอื่น ๆ)
  • กัณฑ์ที่สองคือ "ภูวรรคาทิ" (ศัพท์ "โลก" และอื่น ๆ)
  • และกัณฑ์ที่สาม ชื่อ "สามานยาทิ" (ศัพท์ทั่วไป)

ใน "สวรรคาทิ" แบ่งเป็น 10 วรรค ได้แก่ สฺวรฺควรฺค (สวรรค์), วฺโยมวรฺค (ท้องฟ้า), ทิควรฺค, กาลวรฺค, ธีวรฺค, ศัพทาทิวรฺค, ปาตาลโภคิวรฺค, (บาดาล) นรกวรฺค (นรก), วาริวรฺค (แม่น้ำ) โดยเริ่มด้วยร้อยกรอง

"स्वरव्ययं स्वर्गनाकत्रिदिवत्रिदशालयाः" (สฺวรวฺยยํ สฺวรฺคนากตฺริทิวตฺริทศาลยาห์)"अमरा निर्जरा देवास्त्रिदशा विबुघाः सुराः" (อมรา นิรฺชรา เทวาสฺตฺริทศา วิพุฆาห์ สุราห์)

บรรยายถึง สวรรค์ ในวรรคแรก ได้แก่ สฺว, อวฺย, สฺวรฺค, นาก, ตริทิว, ตริทศาลยะ ในวรรคที่สอง มีศัพท์เกี่ยวกับทวยเทพทั้งหลาย ในบทที่ต่อ ๆ ยังมีศัพท์หมายถึงพระพุทธเจ้าหลายคำ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น่าเชื่อว่าผู้แต่งเป็นชาวพุทธ ดังเช่น

सर्वज्ञः सुगतः बुद्धो धर्मराजस्तथागतः (สรฺวชฺญห์ สุคตห์ พุทฺโธ ธรฺมราชสฺตถาคตห์)समन्तभद्रो भगवान्मारजिल्लोकजिज्जिनः (สมนฺตภทฺโร ภควานฺมารชิลฺโลกชิชฺชินห์)षडभिज्ञो दशबलो 'द्वयवादी विनायकः (ษฑภิชฺโญ ทศพโล 'ทฺวยวาที วินายกห์)मुनीन्द्रः श्रीघनः शास्ता मुनिः शाक्यमुनिस्तु यः (มุนีนฺทฺรห์ ศฺรีฆนห์ ศาสฺตา มุนิห์ ศากฺยมุนิสฺตุ ยห์)

กัณฑ์ที่สองคือ "ภูวรรคาทิ" (ศัพท์ "โลก" และอื่น ๆ) แบ่งเป็น 10 วรรค ได้แก่ ภูววรฺค (โลก), ปุรวรฺค (เมือง), ไศลวรฺค (ภูเขา), วิโนศทิวรฺค (ป่าและการแพทย์), สิงฺหทิวรฺค (สิงโตและสัตว์อื่น ๆ), มนุษยวรฺค (มนุษย์), พรหมวรฺค (พราหมณ์), กฺษตฺริยวรฺค (กษัตริย์), ไวศยวรฺค (พ่อค้า), และ ศูทฺรวรฺค (ศูทร)

สำหรับกัณฑ์ที่สาม ชื่อ "สามานยาทิ" (ศัพท์ทั่วไป) เป็นศัพท์เกี่ยวกับไวยากรณ์ ได้แก่ คุณศัพท์, กริยา คำเกี่ยวกับบทสวด ธุรกิจ และศัพท์เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เริ่มด้วย क्षेमंकरो 'रिष्टतातिश्शिवतातिश्शिवंकरः (กฺเษมํกโร 'ริษฺฏตาติศฺศิวตาติศฺศิวํกรห์) อันได้แก่ศัพท์ กฺเษมํกร, อริษฺฎตาติ ศิวตาติ และศิวํกร เป็นต้น