แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านผด็จการแห่งชาติ ของ อริสมันต์_พงศ์เรืองรอง

ในคืนวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 อริสมันต์ได้ร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มพีทีวี และ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ที่รวมตัวยกันในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่ท้องสนามหลวง เคลื่อนย้ายขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปยังหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น อีกทั้งในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ก็ได้ขึ้นรถปราศรัยโดยด่าว่าทหาร และตำรวจที่รักษาความสงบอยู่ด้วย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 อริสมันต์ลงสมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร ในเขต 12 (บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา) สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาได้เข้าร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้ปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและประธานองคมนตรี

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 อริสมันต์เป็นแกนนำผู้ชุมนุมที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยนำผู้ชุมนุมทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงและที่สมทบจากกรุงเทพฯ เพื่อปิดล้อมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเมื่อวันที่ 10 เมษายน ได้เข้าปิดล้อมหน้าโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เพื่อเข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนอาเซียน และในวันต่อมาได้กลับมาชุมนุมหน้าโรงแรมอีกครั้ง เพื่อกดดันรัฐบาลให้รับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มคนสวมเสื้อสีน้ำเงิน ในช่วงเช้า จนกระทั่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ของไทย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม ขอเลื่อนการประชุมออกไปโดยไม่มีกำหนด แล้วพาผู้นำประเทศต่างๆ เดินทางออกจากสถานที่ประชุม และขึ้นเครื่องบินกลับโดยทันที โดย ในวันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เขามีความผิด จำคุก 4 ปี[11]และไม่ได้รับประกันตัว ก่อนหน้านี้เขาเคยจำคุกในคดีดังกล่าว ในศาลชั้นต้น ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาใน วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 เขาได้รับการประกันตัวในวงเงิน 2 ล้านบาท

หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมอริสมันต์ ที่บ้านพักในเขตตลิ่งชัน ขณะกำลังหลบหนี และถูกควบคุมตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปยังจังหวัดราชบุรี แต่ต่อมาศาลอนุมัติให้ประกันตัวไป ด้วยวงเงิน 5 แสนบาท และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขออนุมัติหมายจับอริสมันต์ในข้อหา กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งศาลพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ออกหมายจับ[12]

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ในวันที่ 7 เมษายน อริสมันต์นำผู้ชุมนุม บุกเข้าไปในบริเวณอาคารรัฐสภา ระหว่างที่กำลังประชุมอยู่ โดยพลการ มิได้ปรึกษาแกนนำหลักทั้งสาม คือวีระ มุสิกพงศ์, ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และจตุพร พรหมพันธุ์ จึงทำให้ต่อมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง[13]

ต่อมา เช้าวันที่ 16 เมษายน อริสมันต์พร้อมกับแกนนำ นปช.คนอื่นๆ ซึ่งมีหมายจับจากศาลอาญา[14] เช่นสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ต้องหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่พักผ่อนอยู่ภายในโรงแรม เอส.ซี.ปาร์ค ย่านถนนนวมินทร์ ซึ่งอริสมันต์ต้องโหนตัวกับเชือกลงมา จากหน้าต่างห้องพักชั้น 3[15]

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ขณะที่จตุพร, ณัฐวุฒิ และแกนนำอื่นรวม 7 คน ประกาศยุติการชุมนุม และขอเข้ามอบตัวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข่าวว่าอริสมันต์หลบหนี ไปจากแยกราชประสงค์ ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยในช่วงบ่าย มีรายงานข่าวเบื้องต้นว่า ทหารจับอริสมันต์ได้ที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ขณะกำลังหลบหนี[16] แต่ต่อมากลับมีข่าวออกมาแก้ไขว่า ไม่เป็นความจริงแต่งอย่างใด[17]

หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อริสมันต์ลี้ภัยอยู่ในประเทศกัมพูชา[18] และเข้ามอบต้วที่ศาลพัทยา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และถูกคุมขัง จนกระทั่งวันที่ 28 ธันวาคม ศาลอุทธรณ์พิจารณา ให้ปล่อยอริสมันต์ชั่วคราว โดยให้วางเงินประกัน 6 ล้านบาท และนัดพิจารณาคดี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[19]

และหลังจากเหตุการณ์สงบลง อริสมันต์จัดทำอัลบั้ม รักในโฟนอิน ขึ้นด้วยตนเอง มิได้เกี่ยวข้องกับค่ายอาร์เอสแต่อย่างใด โดยเพลงในอัลบั้ม มีเนื้อหาเกี่ยวกับทางการเมือง เพลงหนึ่งคือ คนของแผ่นดิน ที่มีเนื้อหาสนับสนุน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ สนับสนุนการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตย การเยียวยาผู้ชุมนุม ที่ได้รับผลกระทบ จากการผลักดันการชุมนุม ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[20]

แกนนำฮาร์ดคอร์

ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป

มักมีการกล่าวหาว่า อริสมันต์เป็นแกนนำ นปช.ที่นิยมใช้ความรุนแรง เนื่องจากพฤติกรรมหลายอย่าง เช่นการปราศรัยว่า จะทำให้กรุงเทพมหานคร กลายเป็นทะเลเพลิง[21] [22] [23], การนำผู้ชุมนุมบุกเข้าไป ในโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท ขณะที่มีการประชุมสุดยอดอาเซียนอยู่ ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจยุติการประชุม, การบุกเข้าไปยังอาคารรัฐสภา โดยไม่ใช่มติของแกนนำ[24] หรือการนำมวลชนปิดล้อม อาคารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นต้น[25] แต่เจ้าตัวก็ปฏิเสธว่า ตนไม่ได้เป็นเช่นนั้น[26]

อุปสมบท

อริสมันต์เข้าอุปสมบท เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา รวมถึงอุทิศส่วนกุศลแก่คนเสื้อแดง ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม ที่วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 มีฉายา ฐิตมนโต หมายถึง ผู้มีความสำเร็จตั้งมั่นดีแล้ว โดยมีศรัทธาตั้งมั่นว่า หากศาลอนุญาต จะออกปฏิบัติธรรม ที่ประเทศอินเดียด้วย

ใกล้เคียง

อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อริสรา กำธรเจริญ อริสรา ทองบริสุทธิ์ อิสมาอีล อภิสมัย ศรีรังสรรค์ อิสมาอีลา ซาร์ อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อิสมาอีลียะฮ์ อิสมาแอล เบญอิบรอฮีม อรสม สุทธิสาคร

แหล่งที่มา

WikiPedia: อริสมันต์_พงศ์เรืองรอง http://www.bangkokbiznews.com/page404 http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_... http://mms.hunsa.com/mms.php?py=album&id=376 http://news.hunsa.com/detail.php?id=22721 http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=203... http://www.pinonlines.com/node/10799 http://www.prachatalk.com/webboard/%E0%B8%AA%E0%B8... http://www.rs-promotion.com/home/event/index.php?i... http://forum.sanook.com/forum/?action=printpage;to... http://www.thaitownusa.com/frontnews/frmNews_View....