ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของ อวน

เต่าทะเลที่พันติดในอวนเครื่องมือแยกเต่าทะเล (turtle excluder device – TED)

การทำประมงมักใช้อวนขนาดใหญ่ที่จับแบบไม่เลือก ทำให้จับได้สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ติดมากับอวนด้วย (bycatch) ได้แก่ โลมา หรือฉลาม โดยเฉพาะจำนวนมากเป็นเต่าทะเล

การจับสัตว์น้ำด้วยเบ็ดราว อวนลากและอวนติด เป็นการจับสัตว์น้ำ 3 ประเภทที่เกิดอุบัติเหตุกับเต่าทะเลมากที่สุด การเสียชีวิตมักเกิดขึ้นเนื่องจากการติดกับดักและไม่สามารถขึ้นมาบนอากาศได้ (จมน้ำ)

อวนจับสัตว์น้ำในปัจจุบันเกือบทั้งหมดทำจากพลาสติก และมีจำนวนมากที่ชาวประมงทิ้งทั้งที่ตั้งใจทิ้งลงทะเล และไม่ตั้งใจ (เช่น เกี่ยวขาดด้วยหิน หรือซากปะการัง) หรือสูญหายไปในทะเล เศษอวนที่ไม่ใช้แล้ว (ghost net หรือ ghost fishing net) เหล่านี้พันเข้ากับ วาฬ โลมา เต่าทะเล ฉลาม พะยูน จระเข้ นกทะเล ปู และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความอดอยาก ผิวฉีกขาดและติดเชื้อ ยากต่อการกลับขึ้นไปที่พื้นน้ำเพื่อหายใจ และขัดขวางการหายใจโดยตรง[39] และยังเป็นอันตรายกับเรือเดินทะเลจากความเสี่ยงเข้าไปพันกับใบพัดหรือเครื่องยนต์เรือ[40] ขยะพลาสติกลอยตัวอยู่ในน้ำรวมทั้งเศษอวนจะค่อย ๆ สลายตัวเปลี่ยนเป็นไมโครพลาสติก (พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร จนถึงขนาดมองไม่เห็น) ซึ่งมีผลกระทบกับปลาทะเล และมนุษย์ที่บริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้[41]

ประมาณการว่า ทุก ๆ ปี มีขยะทะเลที่เป็นเศษอวนใช้แล้ว ถูกทิ้งลงมหาสมุทรมากถึง 640,000 ตัน[41] หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณขยะทะเลทั้งหมด และในแต่ละปีมีสัตว์ทะเลเสียชีวิตเพราะติดเศษอวนมากกว่า 100,000 ตัว[40]

ในประเทศไทย

ประมาณการจากการคำนวณจำนวนเรือประมง ทั้งเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ กับขยะจำพวกเศษอวน อุตสาหกรรมประมงในประเทศไทยอาจผลิตขยะจำพวกเศษอวนกว่า 700,000 กิโลกรัมต่อเดือน[41] โครงการ Net Free Seas เป็นหนี่งในโครงการแรก ๆ ในประเทศไทยที่ลดปริมาณเศษอวนจากทะเล ด้วยการจัดกิจกรรม Clean Up Dive และการนำเศษอวนไปรีไซเคิล กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 47 ชุมชน ทั้งจากจังหวัดระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฎร์ธานี และพังงา[41]

ในประเด็นของการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือประมงที่สร้างผลกระทบรุนแรงจากการจับแบบไม่เลือก การจับสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพสูงเกินขนาด และการทำลายหน้าดินชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการขยายพันธุ์สัตว์น้ำ จึงได้ออกกฎหมายควบคุมการทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนลากและอวนรุน และกำหนดเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ. 2490 และปรับปรุงเรื่อยมาจนปัจจุบัน รวมถึงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558[21][42]

ในปี พ.ศ. 2564 มีเศษอวนขนาดยาว 200 เมตร กว้าง 50 เมตร ติดแนวปะการังบริเวณเกาะโลซิน สร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศปะการังประมาณ 550 ตารางเมตร ซึ่งเก็บกู้ได้เป็นน้ำหนัก 800 กิโลกรัม[43]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อวน http://www.deh.gov.au/soe/2001/coasts/coasts05-6.h... http://www.boatsandrice.com/nVN.html http://chailaibackpacker.com/trip-chumphon/ http://www.ebooksread.com/authors-eng/clinton-g-gi... http://www.kamsonbkk.com/bible/parable-of-jesus/57... http://www.muangboranjournal.com/post/Cheena-Vala http://www.nccoastalfishing.com/index.htm?casting.... http://webdoc.sub.gwdg.de/ebook/o/2004/ethesis.hel... http://erb.nlib.ee/?kid=15742222 http://museum.agropolis.fr/english/pages/expos/ali...