พัฒนาการความเชื่อ ของ อสูร

ในคัมภีร์ฤคเวทตอนต้นใช้คำว่า อสูร หมายถึงเทพชั้นหัวหน้า เช่น พระอินทร์ พระพิรุณ พระอัคนี และเป็นคำเดียวกับคำว่า อหุระ (Ahura) ในพระนาม “พระอหุระมาซดะพระเป็นเจ้าในศาสนาโซโรอัสเตอร์[1] สมัยต่อมา “อสูร” กลับใช้หมายถึง ศัตรูของเทพ ซึ่งพระประชาบดีทรงสร้างขึ้นมาจากลมหายใจของพระองค์ โดยคำว่า “อสุ” หมายถึงลมหายใจของพระประชาบดี[1] คัมภีร์ชั้นหลังต่อมา เช่น ฤคเวทภาคหลัง อาถรรพเวท และปุราณะต่าง ๆ มีการตีความหมายใหม่ว่า “อสุระ” แปลว่า ไม่ใช่เทพ (อ (ไม่ใช่) + สุระ (เทพ)) คือเป็นอริกับเหล่าเทพ[2] และปรากฏตำนานหลายเรื่องกล่าวถึงสงครามหรือความขัดแย้งระหว่างเทพกับอสูร เช่น ตอนกวนเกษียรสมุทรในกูรมาวตาร เทวาสุรสงคราม เป็นต้น

อสูร จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความชั่ว ความโหดร้าย[2] ต่างจากเทวดาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความดีและความเมตตา

ใกล้เคียง

อสูร อสูรจิ้งจอกโลกซามูไร อสูรรับใช้ของยาย 0 สนิท อสูรน้อยคิทาโร่ อสูรกายยักษ์แห่งอาร์ส อสูรร้ายโลกล้านปี อสูรสาวเคลย์มอร์ อสูรร้ายจอมราชัน อสูรใต้ดิน คนกินมนุษย์ อสูรปกครองศักดิ์สิทธิทั้ง 4